
People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor)
ARTIST
A group exhibition featuring:
Khvay Samnang (based in Phnom Penh)
Amy Lien & Enzo Camacho (based in Manila, Berlin and New York)
Nguyen Thi Thanh Mai (based in Hue)
VENUE
The Jim Thompson Art Center
PERIOD
7 March - 18 June 2017
Continuing our focus on regional perspectives, the Jim Thompson Art Center is pleased to present People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor), a group exhibition featuring major works never before shown in Thailand, by internationally acclaimed artists whose work engages with ideas and processes of travel and migration. The exhibiting artists include Cambodia’s Khvay Samnang, who will concurrently be exhibiting at documenta 14 in Athens, Greece and Kassel, Germany: one of the world’s most prestigious platforms for contemporary art, held once every five years.
People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) explores how the travel and migration of populations and industries, ideas and spiritual beliefs, aesthetics and technologies, and artists themselves are continually remaking our world—within and beyond the region we call Southeast Asia—and how this is manifested in the practices of the exhibiting artists. That is, the exhibition is about the process of movement itself as the hinge on which the works turn, rather than about questions that can be said to inhere in any single location. All of the exhibited works were created not in the artists’ ‘home’ cities, but rather in distant sites charged with locally-specific meanings, both historical and contemporary.
The works in the exhibition consider movement both as an experience, and as an object of artistic research. Each of the artists have chosen questions and concerns relating to the displacement of people, the shifts in foreign capital, and their haunting after-effects as historical traces in contemporary locations. These sites of interest mirror the artists’ own experiences of movement and processes of working.
In recent years, the exhibiting artists—like many others—have embraced travel as a necessary condition for practice. This increased mobility becomes a methodology of research and experimentation; that is, movement figures both an experience and a subject for artistic research. This is also related to infrastructural shifts within the transnational system of contemporary art, including the rise of artists’ residencies as important sources of financial support and creative enrichment. No longer primarily just about experiencing a new location or detouring from routine, residencies are now opportunities for interactions that complement and reinforce diversely layered networks. The artist’s residency is a format rendered especially important in contexts with limited state support for contemporary art, and in globalizing neoliberal economies, which drive artists (like others) to seek opportunities in diverse locations from largely non-state sources. Unlike large-scale exhibitionary formats such as biennales, the ascending phenomenon of the artist’s residency has been subject to relatively scant scrutiny in scholarly, curatorial, artistic and other settings.
People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) is not an exhibition about artists’ residencies; it is an exhibition which asks if we can imagine and make sense of a world in perpetual flux, an endlessly reconfiguring constellation of moving parts, a conflagration of swirling forces and forms than cannot be apprehended from any single viewpoint.
Shifts between locations and movements through space become central motifs in the practices of these artists for whom regular relocation has become a necessary circumstance. These artists offer a way of seeing this region as a dynamic network of inter-relationships that are constantly being reconfigured, and that hungrily hop across national borders within Southeast Asia, and across the imaginary boundaries of the region itself.
About the exhibited works
Two projects by Khvay Samnang explore movement in expanded Cambodian contexts. Yantra Man (2015), originally exhibited at Kunstlerhaus Bethanien in Berlin in 2015, explores the largely forgotten history of Cambodian soldiers sent to fight for France in World War 1. Consisting of metal sculptures and installation, with the protective amulets and designs of the Khmer yantra as a recurring motif, the work considers resonances between the soldiers’ historical experiences, and the contemporary experience of working from home. Rubber Man (2014) consists of a single-channel video of a performance by the artist, and an installation comprising of wooden sculptures presented on richly fertile red soil, like that found in the Rattanakiri province of northern Cambodia. The work explores the environmental, social and spiritual effects of the rubber plantations in this region. Performing in the video, the artist pours fresh, liquid rubber over his naked body, then walks through deserted rubber plantations, over the ruined remains of the old-growth forests that they have destroyed. When the forests are gone, where can the indigenous spirits of these upland regions live? These two ambitious, multi-part bodies of work inform Samnang’s new project, which exhibits from April in Athens and from June in Kassel, as part of documenta 14.
Amy Lien & Enzo Camacho are a collaborating duo, who present a new series comprising objects they term ‘video sculptures.’ These explore the figure of a kind of ghost found in locations throughout Southeast Asia: a mythical creature which self-segments, leaving its legs in the (literal or metaphorical) forest while its head and torso flies through the city to terrorize its inhabitants. In Thailand this creature is called akrasue, and in Cambodia it is an arb. The starting point for the artists’ interest in this mutant and mutating figure was the Philippine manananggal,and the krasue/arb/manananggal is here proposed by the artists as a poetically resonant symbol of an ever-shifting sense of self: one without a fixed centre, one that perpetually migrates rather than having a ‘home,’ one that resists rational categorization. This is ‘an open-source monster,’ the artists suggest, borrowing the vocabulary of collaborative and user-generated software. The three discrete but interrelated (and quietly interactive) works, newly created for this exhibition, build on forms previously explored by the artists at the Centre for Contemporary Art Singapore and at 47 Canal Gallery in New York, with the motif of the manananggal also appearing in a deliberately centre-less multi-venue exhibition in Berlin in 2016. Floating ceramic heads project stylised video imagery that echoes fashion shoots, shot primarily in Cambodia and intercut with footage found elsewhere. The works suggest that the ‘haunting’ that these artists are most drawn to is around the rapid transformations in urban environments across the region, and the still unresolved questions this ‘development’ raises for the future.
Day by Day (2014-7) by Nguyen Thi Thanh Mai explores the experience of stateless Vietnamese migrant communities living in floating villages in Cambodia and in Vietnam. These communities have faced decades of hardship, including persecution during the American War in Vietnam and the Khmer Rouge in Cambodia, and continue to be denied many human rights including basic education and healthcare, as a result of being unable to obtain legal identification documents from either nation. The project consists of a one-hour video, a participatory installation of false ‘identity cards,’ and a series of collaborative digital photographic collages installed inside a small hut constructed in the gallery space from coconut-leaf thatching. The exhibited work combines some aspects previously shown at SA SA BASSAC in Phnom Penh and at Saola in the Ho Chi Minh Fine Arts Museum, along with newly produced aspects made on-site in the floating villages in Cambodia and Vietnam, during an extended stay in 2016.
Each of these works have the potential to resonate with charged contemporary circumstances and submerged historical narratives in Thailand. Many artists working in Thailand adopt a migratory and nomadic practice, and implicitly propose the liberating potentials of a sense of pan-regional Southeast Asian experience, rather than nationally delimited identity.
About the artists and curator
Khvay Samnang (born 1982, based in Phnom Penh) is one of Cambodia’s most prominent visual artists. He works in performance, photography, video, and installation, and is especially interested in exploring contentious political issues, social and cultural transformations, and historical narratives in Cambodia and beyond. “How can we show something, if we cannot say it?,” the artists playfully asks. Samnang holds a Bachelor of Fine Arts from Phnom Penh’s Royal University of Fine Arts (2006), and has undertaken numerous residencies including at Berlin’s Kunstlerhaus Bethanien (2014-15), New York’s Residency Unlimited (2013), and Tokyo Wonder Site (2011 and 2010). He is co-founder of Sa Sa Art Projects, Phnom Penh’s only artist-run space, and SA SA BASSAC, a gallery and resource centre. In addition to numerous exhibitions in Cambodia since 2004, his recent international exhibitions include documenta 14 (Athens and Kassel, 2017), Museum of Contemporary Art Santa Barbara (2016), Jeu de Paume (Paris, 2015 and 2014), Asia Pacific Triennial (Brisbane, 2015), ZKM Center of Art and Media (Karlsruhe, 2015), Asian Art Biennial (Taipei, 2014), Singapore Biennale (2013), and the Jewish Museum (New York, 2013).
Amy Lien (born 1987, based in Manila and New York) and Enzo Camacho (born 1985, based in Manila and Berlin) are a duo who have worked exclusively in collaboration since 2009. Their works, which they wryly describe as “not so medium-specific,” often include video and installations that mimic the aesthetics of online and nocturnal environments. Drawn to liminal circumstances—figures between genders, activities between leisure and labour, works between affect and irony—the artists both hold Bachelors Arts from Harvard University (Cambridge, USA, 2009 and 2007), and a joint Master of Fine Arts from Hochschule für bildende Künste (Hamburg, Germany, 2014). They have been on nearly constant residencies since 2015, including at Milan’s Gluck50 (2015), Singapore’s Centre for Contemporary Art (2015), Shanghai’s Am Art Space (2016), and Phnom Penh’s Sa Sa Art Projects (2017). Lien and Camacho’s recent exhibitions include Manananggal has appeared in Berlin (various locations in Berlin, 2016), Physics Room (Christchurch, New Zealand, 2015), 47 Canal (New York, 2014), Matthew Gallery (Berlin 2014), Museum of Modern Art (New York, 2011), and Green Papaya Art Projects (Quezon City, 2009).
Nguyen Thi Thanh Mai (born 1983, based in Hue) explains that “the notion of struggle and an attention to difficult and repressed feelings are central to my practice.” She works across multiple media, exploring challenges faced by individuals and communities, through a process of long-term immersive research. Initially gaining attention for works engaging women’s bodies and gender-based experiences, her ongoing work in stateless fishing communities in Vietnam and Cambodia intersects with issues of citizenship, and histories of the American War in Indochina. Thanh Mai holds a Bachelor of Fine Arts from the Hue College of the Arts, Vietnam (2006) and a Master of Visual Arts from Mahasarakham University, Thailand (2012). She has undertaken numerous residencies including at Berlin’s Kunstlerhaus Bethanien (2014-15), Phnom Penh’s Sa Sa Art Projects (2014), Cheongju’s HIVE Studio (2013), and Ho Chi Minh City’s Sàn Art (2012). She also teaches at the Hue College of the Arts. Thanh Mai’s recent exhibitions include HDLU Zagreb (2016), Sao La at Ho Chi Minh Fine Arts Museum (2015), Sovereign Asian Art Prize Finalists (Hong Kong, 2015), and Chiang Mai University Museum (2014). She is the recipient of awards from the Pollock Krasner Foundation and the Cultural Development and Exchange Fund.
Roger Nelson is an art historian and independent curator based in Phnom Penh, and is currently completing his PhD candidature at the University of Melbourne. His research centres on questions of modernity and contemporaneity in art, taking Cambodia and the broader region as case studies. Roger is a co-founding co-editor of the new scholarly journal, Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia, published by NUS Press at the National University of Singapore. He has contributed essays to scholarly journals including Stedelijk Studies, specialist art magazines including ArtAsiaPacific, as well as books and numerous exhibition catalogues. Roger has curated exhibitions and other projects in Australia, Cambodia, Singapore, Thailand and Vietnam, including Rates of Exchange, Un-Compared, a nine-month series of exhibitions, residencies, symposia, performances and gatherings at numerous locations in Bangkok, Chiang Mai, Phnom Penh and Singapore. He has also delivered lectures internationally, including at New York’s Museum of Modern Art. In 2015-16, he was a participating scholar in Ambitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art, a research program funded through the Getty Foundation’s Connecting Art Histories initiative. This is Roger’s first exhibition at Jim Thompson Art Center.
The exhibition People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) features the artists Khvay Samnang, Amy Lien & Enzo Camacho, and Nguyen Thi Thanh Mai, and is curated by Roger Nelson. It runs from 7 March to 18 June 2017.
The gallery is open from 9.00 to 20.00 (free admission).
The artists and curator are available for interview upon request.
For more information please follow our Facebook or contact us at 02-612-6741
email: artcenter@jimthompsonhouse.com
Website:www.jimthompsonartcenter.org
FB: the Jim Thompson Art Center
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor)
นิทรรศการกลุ่มแสดงผลงานศิลปะโดย:
ไขว สัมนาง (พนมเปญ)
เอมี เลียน &เอ็นโซ คามาโช (มะนิลา, เบอร์ลิน และนิวยอร์ก)
เหงียน ธี ธันห์ ไม (เว้)
ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน
7 มีนาคม ถึง 18 มิถุนายน 2560
เพื่อสานต่อความสนใจด้านมุมมองอันหลากหลายที่มีต่อภูมิภาคของเรา หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอ People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) นิทรรศการกลุ่มซึ่งประกอบด้วยงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ไม่เคยจัดแสดงในประเทศไทยมาก่อน ของกลุ่มศิลปินที่สร้างงานในเกี่ยวพันกับความคิดและกระบวนการของการเดินทางกับการอพยพที่ได้รับเสียงชื่นชมในระดับนานาชาติ โดยศิลปินจากประเทศกัมพูชาที่ร่วมแสดงงานในนิทรรศการครั้งนี้ ไขว สัมนาง จะมีผลงานจัดแสดงที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ และเมืองคาสเซล ประเทศเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของ Documenta 14 หนึ่งในเวทีแสดงผลงานที่ทรงเกียรติที่สุดของโลกศิลปะร่วมสมัยซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ ห้าปี People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) สำรวจว่าการเดินทางกับการอพยพของประชากรและอุตสาหกรรมทั้งหลาย แนวคิดทฤษฎีกับความเชื่อทางจิตวิญญาณ สุนทรียะกับวิทยาการและตัวศิลปินเอง มีส่วนสร้างโลกของเราขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในและนอกเหนือภูมิภาค ที่เราเรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภาวะดังกล่าวปรากฏชัดในการสร้างผลงานของศิลปินผู้แสดงงานครั้งนี้อย่างไร
นิทรรศการนี้จึงเกี่ยวกับกระบวนการของการเคลื่อนย้ายด้วยตัวนิทรรศการเอง เฉกเช่นบานพับที่พลิกแพลงได้หลายทิศทางโดยขึ้นกับตัวงานศิลปะแต่ละชิ้น มากกว่าตัวคำถามภายในชิ้นงานที่เปล่งเสียงได้ทั้งที่นี่และทุกหนแห่ง ผลงานจัดแสดงทั้งหมดของศิลปินล้วนสร้างขึ้นในพื้นที่ห่างไกลความคุ้นชิน กล่าวคือไม่ใช่เมืองอันเป็น ‘บ้าน’ ของศิลปิน และต่างได้รับอิทธิพลจากความหมายจำเพาะของพื้นที่ ทั้งในแง่มุมเชิงประวัติศาสตร์กับโลกร่วมสมัย ผลงานในนิทรรศการคำนึงถึงการเคลื่อนย้ายทั้งในฐานะประสบการณ์และวัตถุแห่งการสืบค้นวิจัยทางศิลปะ ศิลปินแต่ละคนเลือกคำถามและประเด็นซึ่งเชื่อมโยงกับการไร้ถิ่นฐานของผู้คน ความพลิกผันเปลี่ยนแปลงในเมืองหลวงของดินแดนอื่น และผลกระทบสืบเนื่องอันหลอกหลอนของสิ่งเหล่านั้น ในฐานะร่องรอยทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ร่วมสมัย พื้นที่ในความสนใจเหล่านี้จึงเป็นกระจกส่องสะท้อนทั้งประสบการณ์ส่วนตัวในการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของศิลปินและกระบวนการทำงานของพวกเขา เช่นเดียวกับคนจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ ศิลปินได้โอบรับการเดินทางเป็นหนึ่งในเงื่อนไขจำเป็นของการสร้างผลงานการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่เพิ่มขึ้นได้กลายเป็นระเบียบวิธีวิจัยและการทดลอง กล่าวคือ การเคลื่อนที่ก่อรูปขึ้นเป็นประสบการณ์และหัวข้อสำหรับการวิจัยทางศิลปะสิ่งนี้ยังเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ระบบที่มีลักษณะข้ามพรมแดนของศิลปะร่วมสมัยซึ่งรวมถึงการเพิ่มขึ้นของโครงการศิลปินในพำนัก (Artist In Residency) ในฐานะต้นทางสำคัญทั้งด้านเงินทุนสนับสนุนและการเคี่ยวกรำความคิดสร้างสรรค์ปัจจุบันแกนกลางของโครงการในพำนักทั้งหลายไม่ได้จำกัดเฉพาะการเปิดประสบการณ์ในพื้นที่ใหม่หรือให้ศิลปินได้หลุดจากกรอบคิดเดิมที่คุ้นชินเท่านั้น หากยังเปิดโอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่เติมเต็มและเสริมรากฐานให้เครือข่ายที่หลากหลายซับซ้อนอีกด้วย โครงการศิลปินในพำนักคือรูปแบบปรับแปลงที่สำคัญอย่างยิ่งภายใต้บริบทของการสนับสนุนศิลปะร่วมสมัยอันจำกัดของรัฐ และระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งขับเคลื่อนศิลปิน (เช่นเดียวกับคนทั่วไป) ให้ออกแสวงหาโอกาสในหลากหลายพื้นที่ไร้รัฐอันกว้างใหญ่ ต่างจากรูปแบบนิทรรศการขนาดใหญ่อย่างเบียนนาเล ปรากฏการณ์การขยายตัวของโครงการศิลปินในพำนักยังเป็นประเด็นที่ยังขาดแคลนการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางวิชาการ ภัณฑารักษ์ศาสตร์ เชิงศิลปะ และในแวดวงอื่นๆ People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor) ไม่ใช่นิทรรศการเกี่ยวกับโครงการศิลปินในพำนัก ทว่าคือนิทรรศการที่ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ ในการจินตนาการถึงและหาเหตุผลให้กับโลกที่เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาประหนึ่งกลุ่มดาวของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวปรับสร้างรูปแบบใหม่ไม่รู้จบ และกลุ่มพลังกับรูปแบบอันยุ่งเหยิงสับสนที่ลุกลามขยายตัวเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำความเข้าใจได้หมดจดจากเพียงมุมมองเดียว การเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างแต่ละสถานที่และการเคลื่อนไหวผ่านพื้นที่กลายเป็นใจความสำคัญในการสร้างงานศิลปะของศิลปินกลุ่มนี้ การย้ายที่อยู่เป็นกิจวัตรกลายเป็นสภาวะแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับพวกเขา ศิลปินทั้งหมดได้เสนอให้มองภูมิภาคนี้ในฐานะเครือข่ายความสัมพันธ์อันเปี่ยมพลวัตที่การกำหนดค่าหรือรูปแบบนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และกระหายอย่างยิ่งที่จะโดดข้ามพรมแดนของรัฐชาติภายใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงพรมแดนในจินตกรรมของตัวภูมิภาคเองอีกต่อหนึ่ง
เกี่ยวกับผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการ
โปรเจ็คต์ทั้งสองของ ไขว สัมนาง (Khvay Samnang)มุ่งสำรวจการเคลื่อนย้ายในบริบทของประเทศกัมพูชาที่ขยายใหญ่ขึ้นYantra Man (2015) ซึ่งจัดแสดงครั้งแรกที่KunstlerhausBethanienในเบอร์ลินเมื่อปี 2015 ได้สำรวจประวัติศาสตร์ที่ถูกหลงลืมในวงกว้างเกี่ยวกับทหารกัมพูชาผู้ถูกส่งไปร่วมรบให้กองทัพฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตัวงานประกอบด้วยการจัดวางประติมากรรมเหล็ก โดยโมทีฟที่ปรากฏในชิ้นงานคือพระเครื่องที่เป็นเครื่องรางและผ้ายันต์แบบเขมรตัวงานมุ่งพิเคราะห์การสะท้อนไปมาระหว่างประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ของเหล่าทหาร และประสบการณ์ร่วมสมัยของคนที่ต้องทำงานไกลบ้าน Rubber Man (2014) ประกอบด้วยวิดีโอหนึ่งจอที่บันทึกการแสดงของตัวศิลปิน และจัดวางบนประติมากรรมไม้ที่นำเสนอบนดินร่วนแดง ชนิดเดียวกับที่พบได้ในจังหวัดรัตนคีรีทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา งานชิ้นนี้สำรวจผลกระทบทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และจิตวิญญาณ ของการเพาะปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว ในวิดีโอนั้นศิลปินเทน้ำยางดิบลงบนร่างเปลือยเปล่า ก่อนออกเดินผ่านสวนยางพาราที่ถูกทิ้งร้าง ย่ำเหยียบไปบนซากของป่าปลูกเก่าแก่ที่ถูกทำลาย และเมื่อป่าสูญสิ้นไป ดวงวิญญาณพื้นเมืองแห่งที่ราบสูงจะไปสิงสถิตอยู่ที่ใด? เนื้อความทั้งหมดของผลงานอันทะเยอทะยานทั้งสอง มีส่วนสำคัญในโปรเจ็คต์ใหม่ของสัมนางซึ่งจะจัดแสดงในฐานะส่วนหนึ่งของนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย documenta 14ตั้งแต่เดือนเมษายนที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ และเดือนมิถุนายนที่คาสเซล ประเทศเยอรมนี ศิลปินคู่ เอมี เลียน &เอ็นโซ คามาโช (Amy Lien & Enzo Camacho) ร่วมกันเสนอผลงานชุดใหม่ด้วยรูปแบบที่เธอและเขาเรียกว่า ‘ประติมากรรมวิดีโอ’ (video sculpture) งานศิลปะชุดนี้สำรวจรูปลักษณ์และตัวตนของสิ่งคล้ายผีที่มีผู้พบเจอตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งมีชีวิตในตำนานที่แยกร่างโดยทิ้งส่วนขาไว้ในป่า (ทั้งในความหมายตรงตัวและโดยเปรียบเทียบ) ในขณะที่ส่วนหัวกับเครื่องในบินผ่านเมืองสร้างความตื่นกลัวให้ชาวบ้าน ในไทยเรียกสิ่งมีชีวิตนี้ว่ากระสือ (krasue) ในขณะที่กัมพูชาใช้ชื่อ เอิบ (arb) จุดเริ่มต้นความสนใจของศิลปินที่มีต่อร่างกลายพันธุ์ชนิดนี้คือ มานานังกาล (manananggal) ของฟิลิปปินส์ และศิลปินเลือกนำเสนอกระสือ/เอิบ/มานานังกาลในรูปสัญลักษณ์อย่างบทกวีที่สะท้อนสัมผัสของตัวตนที่ผันแปรไม่หยุดนิ่ง เป็นสัมผัสของตัวตนที่ไร้ศูนย์กลางตายตัว ตัวตนที่เคลื่อนย้ายอพยพมากกว่าสงบนิ่งที่ ‘บ้าน’ หรือสถานที่จำเพาะ และแข็งขืนต่อการจำแนกประเภทด้วยตรรกะและเหตุผล ศิลปินเสนอว่าสิ่งมีชีวิตนี้ถือเป็น ‘สัตว์ประหลาดโอเพ่นซอร์ส’ (open-source monster) โดยหยิบยืมคำศัพท์ที่สื่อความถึงซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต และ/หรือพัฒนาต่อโดยผู้ใช้ มาช่วยอธิบายคุณลักษณะชิ้นงานทั้งสามที่แยกส่วนชัดเจนทว่าสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (และโต้ตอบระหว่างกันอย่างเงียบเชียบ) สร้างขึ้นใหม่เพื่อนิทรรศการครั้งนี้โดยเฉพาะ ด้วยรูปแบบที่ศิลปินทั้งสองเคยใช้เมื่อครั้งแสดงผลงานที่ Centre for Contemporary Art (CCA)ประเทศสิงคโปร์ และ 47 Canal Gallery ในนิวยอร์ก ตัวผีมานานังกาลเองก็เคยปรากฏตัวในนิทรรศการที่ไร้จุดศูนย์กลางและจัดขึ้นพร้อมกันหลายพื้นที่ในเบอร์ลินเมื่อปี 2016ศีรษะเซรามิกที่ลอยเหนือหัวผู้ชมฉายภาพจากวิดีโอสไตล์ที่ชวนให้นึกถึงแฟชั่นโชว์ การถ่ายทำส่วนใหญ่ในกัมพูชาและตัดสลับกับฟุตเตจที่หาได้จากแหล่งอื่น ผลงานทั้งหมดกำลังเสนอให้เห็นว่า ‘ความหลอกหลอน’ ที่ดึงดูดศิลปินทั้งคู่มากที่สุดนั้นวนเวียนอยู่รอบการแปรสภาพอันเชี่ยวกรากของสภาพแวดล้อมในเมืองใหญ่ทั่วภูมิภาคนี้ และคำถามซึ่ง ‘การพัฒนา’ ได้ตั้งขึ้นให้อนาคตเป็นผู้หาคำตอบ Day by Day (2014-7) โดยเหงียน ธี ธันห์ ไม (Nguyen Thi Thanh Mai)สำรวจประสบการณ์ผู้อพยพของชุมชนชาวเวียดนามไร้รัฐที่ใช้ชีวิตในหมู่บ้านลอยน้ำในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ชุมชนดังกล่าวต้องประสบความยากแค้นนานหลายทศวรรษ ทั้งถูกกวาดล้างระหว่างช่วงสงครามอเมริกันในเวียดนามและภายใต้การปกครองของเขมรแดงในกัมพูชาถูกปฏิเสธสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องทั้งการศึกษาและสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการไม่สามารถเข้าถึงเอกสารยืนยันตัวตนทางกฎหมายในแต่ละชาติ โปรเจ็คต์นี้ประกอบด้วยวิดีโอความยาวหนึ่งชั่วโมง จัดวางร่วมกับ ‘บัตรประชาชน’ ปลอม และชุดคอลลาจภาพถ่ายดิจิตอลติดตั้งในกระท่อมทางมะพร้าวหลังเล็ก ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ของแกลเลอรี ผลงานที่จัดแสดงนี้รวมลักษณะของตัวงานที่เคยจัดแสดงก่อนหน้าที่ SA SA BASSAC ในพนมเปญ และที่ Saolaใน Ho Chi Minh Fine Arts Museum เข้าด้วยกัน ควบคู่กับส่วนประกอบใหม่ที่ทำขึ้นในพื้นที่หมู่บ้านลอยน้ำ ทั้งที่กัมพูชาและเวียดนามระหว่างศิลปินใช้ชีวิตที่นั่นเมื่อปี 2559 ผลงานทุกชิ้นที่จัดแสดงคราวนี้ล้วนมีศักยภาพในการสะท้อนเข้าหาสภาพแวดล้อมร่วมสมัย และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่จมอยู่ใต้พื้นผิว ศิลปินในไทยจำนวนมากเองก็รับเอาวิถีปฏิบัติเยี่ยงผู้อพยพหรือชนเผ่าพเนจรไว้กับตัวซึ่งโดยปริยายพวกเขาได้สำแดงปลดเปลื้องให้เห็นความรู้สึกของประสบการณ์ในระดับภูมิภาค (pan-regional) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ซุกซ่อนไว้ มากกว่าตัวตนที่มีเขตแดนจำกัดของชาติที่ตนเองสังกัดอยู่
เกี่ยวกับศิลปินและภัณฑารักษ์
ไขว สัมนาง (เกิดปี 2525, พำนักในพนมเปญ) คือหนึ่งในศิลปินสาขาทัศนศิลป์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศกัมพูชา เขาทำงานทั้งด้านเพอร์ฟอร์มานซ์,ภาพถ่าย,วิดีโอ,ศิลปะจัดวาง และยังสนอกสนใจสำรวจประเด็นชวนถกเถียง ทั้งด้านการเมือง สังคม กับความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ในกัมพูชากับที่อื่นๆ “ถ้าพูดถึงไม่ได้ แล้วเราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไร?” ศิลปินเอ่ยคำถามนี้ด้วยน้ำเสียงเย้าแหย่ สัมนางจบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะศิลปศาสตร์จาก Phnom Penh’s Royal University of Fine Arts (2549) และเข้าร่วมโครงการพำนักหลายแห่งซึ่งรวมถึงที่KunstlerhausBethanienในเบอร์ลิน (2557-2558) Residency Unlimitedในนิวยอร์ก (2556) และ Tokyo Wonder Site (2554 และ 2553) เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Sa Sa Art Projectsพื้นที่ศิลปะแห่งเดียวในกรุงพนมเปญที่ดำเนินงานโดยศิลปิน และ SA SA BASSACซึ่งทำหน้าที่แกลเลอรีและศูนย์วิทยบริการด้านศิลปะนอกเหนือจากการแสดงผลงานจำนวนมากในกัมพูชาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว เขาได้ร่วมแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติทั้งที่ documenta 14 (เอเธนส์และคาสเซล, 2560), Museum of Contemporary Art Santa Barbara (2559), Jeu de Paume(ปารีส, 2558 และ 2557), Asia Pacific Triennial (บริสเบน, 2558), ZKM Center of Art and Media (คาร์ลสรูห์, 2558), Asian Art Biennial (ไทเป, 2557), Singapore Biennale (2556) และที่ Jewish Museum (นิวยอร์ค, 2556)
เอมี เลียน (เกิดปี 2530, พำนักในมะนิลาและนิวยอร์ก) และ เอ็นโซ คามาโช (เกิดปี 2528, พำนักในมะนิลาและเบอร์ลิน) คือคู่ศิลปินที่ทำงานร่วมกันเป็นการเฉพาะตั้งแต่ปี 2552 ผลงานศิลปะที่พวกเขาให้คำอธิบายด้วยน้ำเสียงจิกกัดว่า “ไม่ใคร่เจาะจงสื่อที่ใช้” มักใช้วิดีโอกับการจัดวางที่เลียนแบบสุนทรียะออนไลน์และสภาพแวดล้อมยามวิกาล ด้วยความสนใจของพวกเขาคือสภาวะกึ่งกลาง (liminal circumstance)เช่น ตัวตนที่ยึดโยงลักษณะระหว่างเพศ กิจกรรมที่คาบเกี่ยวระหว่างสันทนาการกับการใช้แรงงาน หรือผลงานที่อยู่ระหว่างความจริงจังกับความเสียดเย้ย ศิลปินทั้งสองจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (เคมบริดจ์, สหรัฐอเมริกา, 2552 และ 2550) และปริญญาโทคณะศิลปศาสตร์ร่วมจากHochschulefürbildendeKünste (ฮัมบูร์ก, เยอรมนี, 2557) ทั้งคู่แทบใช้ชีวิตทั้งหมดในโครงการพำนักศิลปินตั้งแต่ปี 2558 ทั้งที่ Milan’s Gluck50 (2558), Singapore’s Centre for Comtemporary Art (2558), Shanghai’s Am Art Space (2559) และ Phnom Penh’s Sa Sa Art Projects (2560) ผลงานนิทรรศการในช่วงหลังของเลียนกับคามาโช จัดแสดงที่Manananggal has appeared in Berlin (แสดงหลายพื้นที่ในเบอร์ลิน, 2559), Physics Room (ไครสต์เชิร์ช, นิวซีแลนด์, 2558), 47 Canal (นิวยอร์ก, 2557), Matthew Gallery (เบอร์ลิน, 2557), Museum of Modern Art (นิวยอร์ก, 2554) และ Green Papaya Art Projects (เคซอน ซิตี, 2552)
เหงียน ธี ธันห์ ไม(เกิดปี 2526, พำนักในเว้) อธิบายไว้ว่า “แนวความคิดเกี่ยวกับการต่อสู้ดิ้นรน กับความสนใจต่อความรู้สึกที่แสดงออกได้ยากและถูกกดทับไว้ คือแกนกลางในการสร้างงานศิลปะของฉัน” เธอทำงานโดยใช้สื่อหลากหลาย สำรวจอุปสรรคที่ปัจเจกบุคคลหรือชุมชนต้องเผชิญ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและลงพื้นที่วิจัยระยะยาว ในระยะแรกเริ่มเธอได้รับความสนใจจากผลงานที่เกี่ยวพันกับร่างกายของผู้หญิงและประสบการณ์ที่มีเรื่องเพศเป็นพื้นฐาน แต่ผลงานต่อเนื่องที่กำลังทำอยู่อันว่าด้วยชุมชนชาวประมงไร้รัฐในเวียดนามและกัมพูชา นำเสนอประเด็นซ้อนทับระหว่างเรื่องสิทธิความเป็นพลเมืองและประวัติศาสตร์ของสงครามอเมริกันในคาบสมุทรอินโดจีน ธันห์ ไม จบปริญญาตรีคณะศิลปศาสตร์จาก Hue College of the Arts ประเทศเวียดนาม (2549) และปริญญาโทด้านทัศนศิลป์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย (2555) เธอเข้าร่วมในโครงการพำนักศิลปินหลายแห่ง เช่น KunstlerhausBethanienในเบอร์ลิน (2557-2558), Sa Sa Art Projects ในพนมเปญ (2557), HIVE Studio ในชองจู (2556) และ Sàn Art ในโฮจิมินห์ซิตี (2555) ผลงานนิทรรศการในช่วงหลังของธันห์ ไม จัดแสดงที่ HDLU Zagreb (2559), Sao La ใน Ho Chi Minh Fine Arts Museum (2558), Sovereign Asian Art Prize Finalists (ฮ่องกง, 2558) และพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2557) นอกจากนี้เธอยังเป็นอาจารย์ที่ Hue College of the Arts ด้วย และได้รับรางวัลจากมูลนิธิ Pollock Krasner กับ The Cultural Development and Exchange Fund (CDEF)
โรเจอร์ เนลสัน (Roger Nelson)ทำงานในฐานะนักประวัติศาสตร์ศิลป์และภัณฑารักษ์อิสระผู้พำนักในกรุงพนมเปญ สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกที่ University of Melbourneปี 2560ผลงานวิจัยของเขาศึกษาคำถามที่มีต่อความเป็นสมัยใหม่และสภาวะร่วมสมัยในงานศิลปะ โดยใช้ประเทศกัมพูชาและภูมิภาคโดยรอบเป็นกรณีศึกษา โรเจอร์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการร่วมของวารสารวิชาการเล่มใหม่ Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia ซึ่งตีพิมพ์โดย NUS Pressของ National University of Singaporeเขาเขียนบทความวิชาการให้วารสารหลายเล่ม เช่น Stedelijk Studies นิตยสารศิลปะเนื้อหาเข้มข้น เช่น Art Asia Pacific รวมถึงหนังสือและสูจิบัตินิทรรศการศิลปะจำนวนมาก โรเจอร์ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์นิทรรศการและโปรเจ็คต์อื่นๆ ทั้งในออสเตรเลีย กัมพูชา สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม หนึ่งในผลงานของเขาคือ Rates of Exchange, Un-Compared ซึ่งมีระยะเวลาร่วมเก้าเดือน โดยรวมทั้งนิทรรศการ โครงการพำนักศิลปิน การประชุมวิชาการ (symposium) การแสดงเพอร์ฟอร์มานซ์ และการพบปะสังสรรค์ในหลายสถานที่ทั้งกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พนมเปญ และสิงคโปร์ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บรรยายระดับนานาชาติเช่นที่ Museum of Modern Art ในนิวยอร์ก ในปี 2558-2559 เป็นนักวิชาการผู้สังเกตการณ์ในAmbitious Alignments: New Histories of Southeast Asian Art ซึ่งเป็นโปรแกรมวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนผ่านโครงงาน Connecting Art Histories ของ Getty Foundation
นิทรรศการนี้เป็นครั้งแรกที่โรเจอร์ได้ร่วมงานกับหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน
นอกจากนี้ โปรแกรมการศึกษาของนิทรรศการยังรวมถึงการเปิดตัวหนังสือ Southeast of Now พร้อมกับการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษโดย ไซมอน ซูน (Simon Soon, พำนักในกัวลาลัมเปอร์) ว่าด้วยนักประวัติศาสตร์ศิลป์ด้านเอเชียที่มีชื่อเสียง อนันดา คูมรัสวามี (Ananda Coomaraswamy) และการบรรยายเป็นภาษาไทยโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี (Thasnai Sethaseree, พำนักในเชียงใหม่) ว่าด้วยชุมชนผู้พลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา
นิทรรศการ People, Money, Ghosts (Movement as Metaphor)
ประกอบไปด้วยศิลปิน ไขว สัมนาง, เอมี เลียน & เอ็นโซ คามาโช และ เหงียน ธี ธันห์ ไม
คัดสรรผลงานโดยภัณฑารักษ์ชาวออสเตรเลีย ซึ่งอาศัยอยู่ในพนมเปญ โรเจอร์ เนลสัน
เริ่มจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2560
โปรดติดตามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์
หอศิลป์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 20.00 น. เข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
หากต้องการสัมภาษณ์ศิลปินและภัณฑารักษ์ สามารถแสดงความจำนงได้
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:ศิริพร เมืองกุศล หมายเลขโทรศัพท์: 02-612-6741
อีเมล: artcenter@jimthompsonhouse.com
เว็บไซต์: www.jimthompsonartcenter.org
เฟซบุ๊ก: the Jim Thompson Art Center

