Jim Thompson Art Center

EN TH
How Many Worlds Are We cover
How Many Worlds Are We cover title

Exhibitions /

EN TH

How Many Worlds Are We? 

นิทรรศการกลุ่ม
ภัณฑารักษ์ โดย อเล็กซานเดร เมโล

ศิลปิน
ไอร์สัน เอราคลิโต (บราซิล), โจนาธาส เด อันดราเด (บราซิล), ลีโน วุธ (กัมพูชา), ปรัชญา พิณทอง (ไทย), โซ ยู นเว (เมียนมา), ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (ไทย), ต่อลาภ ลาภเจริญสุข (ไทย), วาสโก อาเราโฮ (โปรตุเกส), วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร (ไทย), โยนามีน อามาจาห์ (แองโกลา)

นิทรรศการ How Many Worlds Are We? สำรวจตรวจค้นและนำพาตัวเองออกจากแนวคิดดั้งเดิมของการแบ่งฟากฝั่งโลกออกเป็นสองฝั่ง ระหว่างฟากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ด้วยการพินิจพิจารณาว่าแนวคิดดังกล่าวได้รับการสื่อแสดงออกมาผ่านผลงานศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยในลักษณะเชิงบวกอย่างไรบ้าง

ในอดีต ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ทำให้ภูมิภาคฟากฝั่งโลกถูกมองว่าตั้งอยู่ห่างไกลกัน แต่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของพลวัตความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมของโลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้

ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์

นิทรรศการนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าและการสะท้อนตกผลึกทางความคิดของอเล็กซานเดร เมโล ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งในฟากฝั่งโลกตะวันตก คือในทวีปละตินอเมริกา (ส่วนใหญ่ในประเทศบราซิลและโดยเฉพาะในรัฐอามาโซนัสและรัฐบาเยีย) และในฟากฝั่งโลกตะวันออก (ส่วนใหญ่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียอาคเนย์) โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมนำเอาศิลปินร่วมสมัยผู้ผลิตผลงานในดินแดนทั้งสองฟากฝั่งโลกให้ได้มาจัดแสดงผลงานร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อท้าทายมุมมองความคิดทางภูมิศาสตร์วัฒนธรรมให้ออกจากศูนย์กลางแล้ว นิทรรศการของเรายังพยายามค้นหาโอกาสความเป็นไปได้ของการทำให้ได้พบปะเผชิญหน้ากันซึ่งแนวทางต่างๆ ที่ศิลปินจากโลกสองฟากฝั่งใช้ในการสร้างสรรค์ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดอย่างธรรมชาติ จิตวิญญาณ หรือความเป็นมนุษย์

นิทรรศการไม่ได้เน้นเพียงแค่การทำความเข้าใจในทางมานุษยวิทยาหรือนิเวศวิทยาเป็นหลัก แต่ทว่ายังคำนึงถึงปัจจัยด้าน “ธรรมชาติ” และ “จิตวิญญาณ” ที่เกี่ยวข้องกับ “ป่า” และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่าในประเทศบราซิลหรือประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเด็นหรือหัวข้อหลักที่ช่วยให้ผู้รับชมผลงานเข้าใจถึงความรู้ แรงบันดาลใจ และความคาดหวังที่ศิลปินผู้ได้รับเลือกสื่อแสดงออกในผลงานของตน โดยเฉพาะความผูกพันที่มีต่อประเพณีวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับพลวัตวัฒนธรรมกระแสนิยมโลก

  • 1

    Torlarp Larpjaroensook
    Space Station, 2023
    Metal, Copper, Electronic lamp
    290 x 290 x 350 cm

  • โซ ยู นเว (เมียนมา)
**Spirit of the Heart, Serpentine, 2561**
แก้วพ่นไฟประกอบกับกระเบื้องเคลือบ
20 x 14 x 23 ซม.

สมบัติของ DC Collection

    โซ ยู นเว (เมียนมา)
    Spirit of the Heart, Serpentine, 2561
    แก้วพ่นไฟประกอบกับกระเบื้องเคลือบ
    20 x 14 x 23 ซม.

    สมบัติของ DC Collection

  • โซ ยู นเว (เมียนมา)
**Budding Serpent, 2561**
เซรามิกเคลือบ เคลือบด้าน ทอง และหอยมุก
175 x 63 x 15 ซม.

    โซ ยู นเว (เมียนมา)
    Budding Serpent, 2561
    เซรามิกเคลือบ เคลือบด้าน ทอง และหอยมุก
    175 x 63 x 15 ซม.

  • ไอร์สัน เอราคลิโต (บราซิล)
**DIVISOR III, 2545**
กระจก น้ำเกลือ และน้ำมันปาล์มแดง
220 x 160 x 20 ซม.
จัดทำสำหรับนิทรรศการ

    ไอร์สัน เอราคลิโต (บราซิล)
    DIVISOR III, 2545
    กระจก น้ำเกลือ และน้ำมันปาล์มแดง
    220 x 160 x 20 ซม.
    จัดทำสำหรับนิทรรศการ

  • วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร (ไทย)
**Making the Unknown Known, 2563-2565**
วิดีโอจัดวาง 3 จอ, เสียงสเตอริโอ
15’20”

    วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร (ไทย)
    Making the Unknown Known, 2563-2565
    วิดีโอจัดวาง 3 จอ, เสียงสเตอริโอ
    15’20”

  • ปรัชญา พิณทอง (ไทย)
Let the Phenomena Speak, 2566
ออบซิเดียน ตะกั่ว และสายไฟ
28.5 x 22.5 cm

    ปรัชญา พิณทอง (ไทย)
    Let the Phenomena Speak, 2566
    ออบซิเดียน ตะกั่ว และสายไฟ
    28.5 x 22.5 cm

ทั้งประติมากรรม ศิลปะจัดวาง ภาพถ่าย และภาพยนตร์ ที่จัดแสดงในงานนิทรรศการนี้ มุ่งค้นหาและสำรวจถึงมุมมองและแนวทางที่เราอาจนำมาใช้ในการจินตนาการถึงความสัมพันธ์ที่เรามีต่อธรรมชาติและอาณาจักรแห่งจิตวิญญาณใหม่ให้แตกต่างไปจากเดิม ด้วยการเปิดรับประสบการณ์และการทำความเข้าใจอย่างเปิดกว้างถึงผลงานของศิลปินที่เรานำเสนอ

How many worlds are we?

Lyno Vuth
Vibrating Park Forest

อเล็กซานเดร เมโล

เกิด พ.ศ. 2501 ประเทศโปรตุเกส

ภัณฑารักษ์

ศาสตราจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาวัฒนธรรมและทฤษฎีศิลปะ มหาวิทยาลัยแห่งลิสบอน (ISCTE-IUL) ภัณฑารักษ์ นักเขียน และนักกวิจารณ์งานศิลปะ

ตั้งแต่ต้น 1980s อเล็กซานเดรตีพิมพ์งานเขียนกับสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนัก ได้แก่ “Espresso” (ประเทศโปรตุเกส), “El Paris” (มาดริด), “Flash Art” (มิลาน) or “Parkett” (ซูริค) และนักเขียนประจำของ “Artforum” (New York)

นิทรรศการที่อเล็กซานเดรจัดในฐานะภัณฑารักษ์ ทั้งในประเทศโปรตุเกสและนานาชาติ ได้แก่ นิทรรศการ 10 Contemporary, Serralves Museum, โอพอร์โต ; Eduardo Batarda, Gulbenkian Foundation, ลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส: เทศกาลศิลปะนานาชาติเวนิสเบียนนาเล่ - Julião Sarmento ; เทศกาลศิลปะนานาชาติเซาเปาโล - Rui Chafes / Vera Mantero ; “Portugal Novo”, พิพิธภัณฑ์ Pinacoteca, เซาเปาโล และอีกมากมาย

นิทรรศการล่าสุดในฐานะภัณฑารักษ์ ได้แก่ Liquid Skin - อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล / Joaquim Sapinho, MAAT ลิสบอน; Roi Soleil - Albert Serra, Galeria Graça Brandão, Palácio Pombal, ลิสบอน; “E pluribus unum” – ดักลาส กอร์ดอน, มิโรสรอว บัลกา, รุย ชาเฟส, แกลเลอรี Marília Razuk, เซาเปาโล ; “1000 Imagens” – จอห์น เบาเดสซารี, โจเซฟ โคซูต, ลาเรนซ์ วีเนอร์, เรเน่ กรีน, ปรัชญา พิณทอง, โฮเซนเจลลา เรนโน, วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร, และอีกมากมาย, แกลเลอรี Cristina Guerra, ลิสบอน: “Life, Still Life” – คริสติน่า อิเลกเซีย, เลีย ไชอา, วาสโก อราวโจ, แกลเลอรี Presença, โอพอร์โต

อเล็กซานเดรยังเป็นผู้แต่งและนักเขียนในภาพยนตร์และสาคดีสำหรับศิลปินหลากหลาย และโปรแกรมศิลปวัฒนธรรมสำหรับรายการโทรทัศน์และวิทยุ

นอกจากนี้ยังตีพิมพ์หนังสือ “ Somos Todos Famosos ( “We are All Famous” ) – Pop Hollywood Warhol Stars “, “O Crítico Cúmplice” (“The Critic as an Accomplice”), “Arte e Poder na Era Global” (“Art and Power in the Global Age”), “Triunfo da Crise Económica” (“Triumph of Economic Crisis”), “Sistema da Arte Contemporânea” (“Contemporary Art System”), “Velocidades Contemporâneas” (“Contemporary Speed”), “Aventuras no Mundo da Arte” (“Adventures in the Art World”), “Globalização Cultural” (“Cultural Globalization”), “Arte e Mercado em Portugal” (“Art and Market in Portugal”), “Arte e Artistas em Portugal” (“Art and Artists in Portugal”), “Julião Sarmento” และ "Arte Pop & Cia" (“Pop Art & Co”)
และในฐานะภัณฑารักษ์ของคลังสะสมศิลปะ “Ellipse Foundation” และ “Banco Privado for Serralves” และที่ปรึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมให้กับรัฐบาลประเทศโปรตุเกส (2548/2554).

ไอร์สัน เอราคลิโต

เกิด พ.ศ. 2511, บราซิล

ศิลปิน

พำนักและทำงานอยู่ที่เมืองคาโชเออิรากับเมืองซัลวาดอร์
ไอร์สัน เอราคลิโต ศิลปินทัศนศิลป์และภัณฑารักษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการสื่อสารและสัญศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาธอลิกแห่งเซาเปาโล ปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชาทัศนศิลป์ศูนย์ศิลปะและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งสหพันธรัฐรีคอนคาโวแห่งบาเอีย

งานของไอร์สันมีทั้งการจัดวาง การแสดง ภาพถ่าย และสื่อภาพและเสียง ซึ่งต่างได้รับอิทธิพลรหือมีการนำเอาองค์ประกอบด้านวัฒนธรรมแอฟโฟร-บราซิลไว้ใช้ในผลงานและได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการ เทศกาล และเบียนนาเล่ทั่วประเทศบราซิลและในยุโรปและแอฟริกา องค์ประกอบที่ปรากฏในผลงานของไอร์สันมีหลายองค์ประกอบด้วยกัน เช่น น้ำมันปาล์ม ชีวิตในยุคอาณานิคมของบราซิล เนื้ออบแห้ง น้ำตาล ปลา สเปิร์มและเลือด ความเจ็บปวดของร่างกายและอารมณ์ การแบ่งแยกชนชั้นจากสีผิว และความใฝ่ฝันถึงอิสรภาพ ผลงานของเขายังได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการผลงานศิลปะสะสมของพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ Weltkulturen ที่แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมัน และพิพิธภัณฑ์ศิลปะรีโอเดจาเนโร พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่บาเอีย ศูนย์ศิลปะวิเดโอบราซิล เซาเปาโล ประเทศบราซิล ศูนย์ศิลปะรอว์มาทีเรียลคอมพานี กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล พิพิธภัณฑ์ศิลปะสะสมเบราร์โด กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส และอยู่ในคอลเล็กชันส่วนตัวอีกมากมาย โดยเขายังรับหน้าที่เป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ของ Bienal da Bahia ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2557 ด้วย

โจนาธาส เด อันดราเด

เกิด พ.ศ. 2525, บราซิล

ศิลปิน

ศิลปินพำนักและทำงาน ณ เมืองเฮซิฟี ประเทศบราซิล

โจนาธาส เด อันดราเด สร้างสรรค์ผลงานวิดีโอ ภาพถ่าย และงานจัดวางโดยใช้องค์ประกอบของภาพถ่ายและข้อความ กลยุทธ์ที่เขาใช้คือการนำองค์ประกอบที่เป็นเรื่องเล่ากับความเป็นจริง ประเพณีวัฒนธรรมและการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นมาทาบวางเทียบกัน ซึ่งนอกจากจะให้ความสนใจในประเด็นทางสังคมแล้ว ผลงานของเขายังให้ความสนใจในด้านของภาษาและมานุษยวิทยา พร้อมกับท้าทายชุดความคิดเกี่ยวกับความจริง อำนาจ ความปรารถนา และจินตนากรรมทางสังคม นอกจากนี้ ผลงานของเขายังได้รับการจัดเป็นนิทรรศการเดี่ยวมาแล้วหลายครั้ง เช่น นิทรรศการ Jonathas de Andrade: Oeil—Flamme ที่ Maat ลิสบอน (2566) และ Crac Alsace ประเทศฝรั่งเศส (2565); Staging Resistance ที่ Foam Amsterdam (2565); One to One ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชิคาโก (2562); The Fish, พิพิธภัณฑ์ New Museum, นิวยอร์ก (2560); The Power Plant, โตรอนโต (2560); Visiones del Nordeste, พิพิธภัณฑ์ Museo Jumex, เม็กซิโกซิตี้ (2560); พิพิธภัณฑ์ Museu do Homem do Nordeste, พิพิธภัณฑ์ MAR: Museum of Art ริโอเดจาเนโร (2557-2558) และร่วมแสดงในนิทรรศการกลุ่ม เช่น เทศการ Istanbul Biennial ครั้งที่ 16 (2562) นิทรรศการ Artapes, MAXXI: National Museum of XXI Century Arts, กรุงโรม (2561); นิทรรศการ Sao Paulo Biennial ครั้งที่ 32 (2559); นิทรรศการ Unfinished Conversations: New Work from the Collection พิพิธภัณฑ์ The Museum of Modern Art (MoMA) (2558); และนิทรรศการ Under the Same Sun: Art from Latin America Today, Guggenheim Museum, New York (2557) โจนาธาส เด อันดราเด ยังได้จัดแสดงผลงานเดี่ยวประจำงาน Brazilian Pavilion ที่งาน Venice Biennale ครั้งที่ 59 (2565) ด้วย

วุธ ลีโน่

เกิด พ.ศ. 2525, กัมพูชา

ศิลปิน

วุธ ลีโน ศิลปิน ภัณฑารักษ์ และนักการศึกษา ผู้สนใจในโลกอวกาศ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และการผลิตองค์ความรู้ ผลงานศิลปะของเขาส่วนใหญ่เน้นการเจาะลึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ระดับจุลภาคที่มักหลายคนมองข้าม รวมถึงแนวคิดชุมชน การสร้างพื้นที่ และการผลิตสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย วิดีโอ ประติมากรรม แสง และเสียง มาสร้างสรรค์โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นสถานการณ์ของการปฏิสัมพันธ์ เขาผสมผสานเรื่องราวและความรู้ของมนุษย์ไว้ในผลงานศิลปะจัดวางโดยใช้วัตถุต่างๆ มากมายมาประกอบร่วม ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ สิ่งของสื่อความหมาย และวัตถุที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นต้น

ผลงานศิลปะของวุธ ลีโนได้รับการจัดแสดงตามงานนิทรรศการต่างๆ ทั้งในประเทศกัมพูชาและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการและเทศกาลสำคัญอย่าง Asia Pacific Triennial of Contemporary Art, Biennale of Sydney, Singapore International Festival of Arts และ Gwangju Biennale โดยผลงานศิลปะของเขายังได้รับการจัดแสดงตามสถาบันหลายแห่งทั่วโลก เช่น พิพธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยไทเป หอศิลป์สมัยใหม่ บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิแทนแห่งมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ หอศิลป์แห่งนิวเซาธ์เวลส์ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย หอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ศูนย์ศิลปะร่วมสมัยยูยาซดอฟสกี้คาสต์เซิล วอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ พิพิธภัณฑ์กว่างดงไทมส์ กว่างโจว ประเทศจีน โอเซจแกลเลอรี่ ฮ่องกง และหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

ปรัชญา พิณทอง

เกิดปี พ.ศ. 2517, ไทย

ศิลปิน

ปรัชญา พิณทอง ถือได้ว่าเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุที่นำเอามูลค่าเชิงเศรษฐกิจกับบทบาทหน้าที่ทางสังคมมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้อย่างเก่งกาจ ผลงานของเขาคือการถ่ายโอนสภาวะต่างๆ ทั้งความผันผวนทางการเงิน การรายงานข่าวที่เกินจริง และตลาดแรงงานโลก สู่การเป็นสสารที่เปลี่ยนสถานะจากของแข็งสู่ของเหลว สู่สถานะก๊าซ และย้อนกลับไปยังสถานะของแข็งอีกครั้ง หรืออาจจะเป็นการเหมาะสมหากจะเรียกเขาว่าเป็นนักการค้าผู้ทำมาค้าขายโดยไม่เน้นแสวงหาผลกำไร ผู้ซึ่งทำการค้าอยู่บนระบบของวัฒนธรรมและคุณค่าทางสังคมที่แอบลักลอบค้าขายความหมาย ความหวัง และความยากลำบากของชีวิตแต่ละวัน ปรัชญายอมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของชีวิตที่วิวัฒน์พัฒนาอยู่อย่างไม่สิ้นสุด ทั้งในเรื่องของรูปร่าง พลวัตการเมือง การคงอยู่และสิ่งที่ประสบในชีวิตประจำวัน ด้วยการเปลี่ยนถ่ายอุปมาอุปไมยของความผันผวนในมูลค่าเงินตราสู่การกระทำของมนุษย์ในขอบเขตอันหลากหลายอย่างสร้างสรรค์ ผลงานของปรัชญาก่อกำเนิดเกิดจากการปะทะกันของระบบสังคม เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการพูดคุยสนทนาและนำเอาสุนทรียะทั้งหมดทั้งมวลออกมาด้วยกระบวนการทางศิลปะที่ละเอียดอ่อนจนแทบไม่อาจสังเกตเห็นได้ ทั้งนี้ ผลงานการจัดแสดงเดี่ยวที่ผ่านมา ได้แก่ นิทรรศการ Pratchaya Phinthong, gb agency, Paris (2558, 2555, 2552, 2550) Broken Hill, Chisenhale Gallery, London (2556) นิทรรศการ Sleeping Sickness ที่ Centre d’Art Contemporain, Rennes (2555) นิทรรศการ Give More Than You Take, GAMeC, Bergamo (2554) CAC Brétigny (2553) การจัดแสดงกลุ่ม ได้แก่ นิทรรศการ 40th Anniversary, Ludwig Museum, Köln; นิทรรศการ 11th Gwangju Biennale, dOCUMENTA (13), Kassel The Ungovernables, New Museum Triennial

โซ ยู นเว

เกิด พ.ศ. 2532, เมียนมา

ศิลปิน

โซ ยู นเว เป็นศิลปินจากประเทศเมียนมา สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเซรามิกส์จาก Rhode Island School of Design พ.ศ. 2558 หลังจากนั้น โซได้เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักหลายโครงการ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ในเอเชีย และประสบการณ์จากการใช้ชีวิตในต่างประเทศและต่างวัฒนธรรมของเธอคือแรงบันดาลใจที่เธอใช้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่สะท้อนอัตลักษณ์ตัวเอง โดยเธอมองว่าอัตลักษณ์ของคนเรานั้นมีความลื่นไหล เปราะบาง และมีลักษณะแบบแยกส่วน ผลงานของเธอจึงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่เบื้องลึกภายในจิตใจผ่านภาพธรรมชาติและร่างกายโดยแยกส่วนออกจากกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของอัตลักษณ์บุคคลในบริบทสังคมยุคโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ผลงานของโซที่ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการระดับนานาชาติ ได้แก่ งานนิทรรศการ Asia Pacific Triennial of Contemporary Art ครั้งที่ 9 (ออสเตรเลีย), 2561 นิทรรศการ Dhaka Art Summit (บังกลาเทศ), พิพิธภัณฑ์ The New Taipei City Yingge Ceramic Museum (ไต้หวัน), หอศิลป์ Yavuz Gallery (สิงคโปร์), หอศิลป์ ZieherSmith in Chelsea ที่นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) และหอศิลป์แห่งชาติอินโดนีเซีย จาการ์ตา (อินโดนีเซีย) และเมื่อไม่นานมานี้ โซยังได้รับเชิญเพื่อร่วมเป็นสมาชิกคนแรกจากประเทศเมียนมาของสถาบัน International Academy of Ceramics โดยผลงานของเธอยังได้รับเลือกเพื่อจัดแสดงในนิทรรศการโดย Queensland Art Gallery & Gallery of Modern Art ที่บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ โซยังมีชื่ออยู่ใน Forbes 30 Under 30: Art & Style 2562 ด้วย

ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์

เกิด พ.ศ. 2514, ไทย

ศิลปิน

ธวัชชัยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาประติมากรรมจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านศิลปกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ธวัชชัยสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมจากไม้เนื้อแข็ง หินชนวน เส้นใยออร์แกนิก และโลหะประเภทต่างๆ โดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มีความแม่นยำในการออกแบบพร้อมกับฝีมือเชิงช่างอันประณีต ผลงานของธวัชชัยละเล่นกับแรงโน้มถ่วงโลกด้วยเพราะต้องการพลิกเปลี่ยนมุมมองและความเข้าใจของผู้ชมเกี่ยวกับปริมาตรและอวกาศ อีกทั้งยังเป็นวิธีการสื่อสารให้ผู้รับชมผลงานได้หวนคิดถึงอัตตาหรือความยึดมั่นถือมั่นในตนเองและสัจธรรมความไม่เที่ยงตามหลักปรัชญาของพุทธศาสนา
ธวัชชัยได้รับทุนสนับสนุนเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากหลายสถาบันทั่วโลก เช่น ทุน Asia Arcus Project พ.ศ. 2539, ทุน 15th Silpa Bhirasri Creativity Grant, Asia Cultural Council, New York, และทุน Pollock Krasner Foundation, USA (2551 และ 2543) นอกจากนี้เขายังได้ร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการต่างๆ มากมายทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นงานนิทรรศการ The Sydney Biennale ครั้งที่ 21; นิทรรศการของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สิงคโปร์ (2561), นิทรรศการ Head of tails’ Sundaram Gallery ที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา, นิทรรศการ Mapping Macrocosmsadam A Parallel Project of Singapore Biennale (2559) ที่หอศิลป์ ADM Gallery; นิทรรศการ Minimalism, ที่ Art Science Museum Singapore (2561); การแสดงผลงานเดี่ยวที่ A+, Kulalumpor, Malaysia (2562); นิทรรศการ Existence of Void, หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ (2565); รางวัลศิลปาธร กรุงเทพฯ: นิทรรศการ Rift หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ (2563) Shifts in Perception, Gajah Gallery สิงคโปร์ (2564)

ต่อลาภ ลาภเจริญสุข

เกิด พ.ศ. 2520, ไทย

ศิลปิน

"ต่อลาภเรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรุงเทพฯ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในฐานะศิลปินที่ผู้ผลิตผลงานโดยใช้สื่อศิลปะที่หลากหลาย ต่อลาภให้ความสนใจเป็นพิเศษในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะกับผู้ชม ด้วยการนำเอาวัตถุสำเร็จรูปมาใช้ในผลงานประติมากรรม งานจัดวาง และงานศิลปะอื่นๆ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เคลื่อนไหวได้ ผลงานของเขาทำหน้าที่เป็นสิ่งเชื่อมต่อที่เชื่อมโยงความรู้สึกของผู้ชมเข้ากับวัตถุสิ่งของที่ทุกคนต่างพบเจอในชีวิตประจำวัน

ผลงานของต่อลาภได้รับการจัดแสดงในนิทรรศทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มในหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ผลงานของเขายังได้รับการรวบรวมสะสมโดยหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม โดยเมื่อ พ.ศ. 2554 ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการเดี่ยว Bookshelf ที่ 8Q Singapore Art Museum ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการสะสมโดย Singapore Art Museum ต่อมา พ.ศ. 2555 นิทรรศการเดี่ยวของเขา In Progress ได้รับการจัดแสดงที่ Richard Koh Fine Art Gallery ประเทศสิงคโปร์ จากนั้นเขายังได้ร่วมแสดงผลงานในงาน Bangkok Art Biennale พ.ศ. 2561 ด้วย ซึ่งนอกจากการเป็นศิลปินแล้ว ต่อลาภยังก่อตั้ง Gallery Seescape (เพื่อเป็นพื้นที่ศิลปะทางเลือก) ปัจจุบันต่อลาภพำนักอยู่ที่เชียงใหม่ เพื่อคอยดูแล Gallery Seescape พร้อมกับสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุดใหม่ของตัวเอง

วาสโก อาราวโฮ

เกิด พ.ศ. 2518, โปรตุเกส

ศิลปิน

วาสโก อาราวโฮ เกิด พ.ศ. 2518 ที่กรุงลิสบอน ซึ่งเป็นเมืองที่เขายังคงใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในปัจจุบัน โดยเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาประติมากรรมเมื่อ พ.ศ. 2542 จากคณะวิจิตรศิลป์แห่งมหาวิทยาลัยลิสบอน และได้เข้าเรียนหลักสูตรขั้นสูงสาขาทัศนศิลป์ที่มหาวิทยาลัยเมามัส กรุงลิสบอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ถึง 2543 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาได้ร่วมแสดงผลงานในทั้งนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มจำนวนมาก ทั้งที่จัดขึ้นในประเทศโปรตุเกสและต่างประเทศ อีกทั้งยังได้เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักหลายโครงการอย่างที่ The University of Arts, Philadelphia (2550); Récollets ปารีส (2548); และ Core Program (2546/47), ฮูสตัน เป็นต้น โดยต่อมา พ.ศ. 2546 เขาได้รับรางวัล EDP Prize for New Artists ด้วย

ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือและแคตตาล็อกหลายเล่ม และยังได้รับการสะสมโดยทั้งสถาบันที่เป็นของภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก เช่น สถาบัน Centre Pompidou, Art Institute Chicago, สหรัฐอเมริกา; พิพิธภัณฑ์ Musée d'Art Moderne, ฝรั่งเศส; ผลงานสะสม Colecção Berardo, พิพิธภัณฑ์ Arte Moderna e Contamporânea, (โปรตุเกส); มูลนิธิ Fundação Calouste Gulbenkian (โปรตุเกส); มูลนิธิ Fundación Centro Ordóñez-Falcón de Fotografía – COFF (สเปน); พิพิธภัณฑ์ Museo Nacional Reina Sofia, Centro de Arte, Centro de Arte (สเปน); มูลนิธิ Fundação de Serralves (โปรตุเกส); พิพิธภัณฑ์ Museum of Fine Arts ฮูสตัน (สหรัฐอเมริกา); Pinacoteca do estado S. Paulo (บราซิล)

วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร


เกิด พ.ศ. 2517, ไทย

ศิลปิน

ผลงานของวันทนีย์เน้นประเด็นทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และนิเวศวิทยาการเมือง ด้วยการนำเสนอทรรศนะเชิงวิพากษ์ที่มีการตั้งคำถามถึงความหมายของชีวิต ซึ่งผลงานของวันทนีย์ส่วนใหญ่ใช้สื่อศิลปะหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ เสียง ประติมากรรม และงานจัดวาง เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจกับกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ หน้าที่ของผลงานของเธอคือการสืบเสาะประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญ นอกจากนี้ ผลงานของเธอยังได้รับการจัดแสดงในงานนิทรรศการของสถาบันหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ Galeri Nasional, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย; พิพิธภัณฑ์ Museo MACRO, ซันติอาโก, อาร์เจนตินา; พิพิธภัณฑ์ National Museum of Modern and Contemporary Art (MMCA), กรุงโซล, เกาหลี; พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ ประเทศไทย; พิพิธภัณฑ์ UP Vargas, กรุงมะนิลา, ฟิลิปปินส์, พิพิธภัณฑ์ National Gallery Singapore สิงคโปร์, พิพิธภัณฑ์ Kyoto Art Center, เกียวโต, ญี่ปุ่น

โยนามิน

เกิด พ.ศ. 2518, แองโกลา

ศิลปิน

โยนามินสร้างสรรค์ผลงานจำนวนมากและใช้สื่อศิลปะที่หลากหลายในการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน ภาพวาด กราฟิตี ภาพถ่าย วิดีโอ และสื่ออื่นๆ เช่น การสักลายและศิลปะบนเรือนร่าง โดยผลงานการจัดวางประเภทมัลติมีเดียที่สร้างสรรค์ขึ้นมายังทำหน้าที่เป็นทั้งไดอารี่ส่วนตัวและการสำรวจประวัติศาสตร์และการเมืองของแอฟริกา ซึ่งปัจจุบัน ผลงานของเขามีทั้งศิลปะจัดวางที่มีความสลับซับซ้อน จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ภาพถ่าย และวิดีโอ อีกทั้งยังมีการนำเอาวัตถุและวัสดุต่างๆ มากมายมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ภาพซีรีกราฟ ภาพวาด ภาพปะติด และร่องรอยต่างที่ซ้อนทับกันด้วยภาพของวัฒนธรรมสมัยนิยม ภาพยนตร์อเมริกัน บุคคนที่มวลชนให้ความสนใจ รวมถึงบุคคลสำคัญทางการเมืองแห่งทวีปแอฟริกา การผสมผสานองค์ประกอบจำนวนมากเช่นนี้ทำให้โยนามินรังสรรค์คำศัพท์ที่นอกจากจะสุดแปลกแหวกแนวแล้วยังสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและจุดยืนของเขาด้วย

งานศิลปะของโยนามีนได้รับการจัดแสดงในประเทศต่างๆ อย่างเม็กซิโก สเปน บราซิล และซิมบับเว เป็นต้น และยังได้รับการจัดแสดงในพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย เช่น นิทรรศการ Venice Biennale ครั้งที่ 52 (2550); หอศิลป์ Cristina Guerra Gallery, Lisbon (2555, 2559 และ 2562), นิทรรศการ Istanbul Biennial ครั้งที่ 15 (2560) และ นิทรรศการ JAHMEK, Luanda (2561) รวมถึงหอศิลป์ Michael Janssen Gallery, Berlin (2565) ผลงานของโยนามีนยังได้รับการสะสมโดย Centre Pompidou และ Franks-Suss