Jim Thompson Art Center

EN TH
Germaine Krull: The Return of the Avant-Gardist cover

Exhibitions /

EN TH

เกอร์ไมเนอ ครูลล์: การหวนคืนของหญิงอาวองการ์ดิสท์ล้ำยุค

ร่วมคัดสรรโดย แอนนา-แคทารีน่า เกบเบอร์ส ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยฮัมบวร์กเกอร์ บาห์นฮอฟ , เบอร์ลิน และ มาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย 

ดําเนินงานโดย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และ จิม ทอมป์สันอาร์ต เซนเตอร์

แกร์ไมเนอ ครูลล์เป็นทั้งพลเมืองโลก เป็นศิลปิน นักปฏิวัติ นักข่าวสงคราม และเป็นหนึ่งในผู้จัดการโรงแรมในกรุงเทพฯคนแรกๆที่เป็นผู้หญิงแกร์ไมเนอครูลล์ เกิดปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่เมืองโพเซ่น เยอรมนี เส้นทางชีวิตพลิกผันให้เธอ ต้องรับบทบาทใหม่ๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างเหลือเชื่อ ผลงานภาพสุดประทับใจ ที่นักถ่ายภาพชั้นยอดเยี่ยมได้ทิ้งไว้เบื้องหลังนั้นเรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเลย เช่นเดียวกับยุคสมัยในห้วงศตวรรษที่เธอมีชีวิตอยู่ มันสะท้อนให้เห็นถึงการแสวงหาเสรีภาพทางศิลปะและทางสังคมของนักบุกเบิกหญิงผู้กล้าหาญไม่หวั่นเกรง และแล้ว ผลงานภาพถ่ายจากมุมมองของเธอก็ได้นํามาจัดแสดงต่อสาธารณชนชาวไทยเป็นครั้งแรก ที่กรุงเทพฯ – เมืองหลวงที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเธอมานานร่วมยี่สิบปี

ครูลล์ถือเป็นศิลปินหญิงระดับตํานาน เธอเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐาน การถ่ายภาพสมัยใหม่ในประเทศตะวันตก แต่เส้นทางไปสู่อาชีพและความใฝ่ฝัน ปรารถนาของเธอก็ถูกจัดวางมาให้แบบบังเอิญมาก เนื่องจากว่าเธอไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่มิวนิก เพราะเธอไม่มีประกาศนียบัตรมัธยมปลาย ด้วยเหตุนี้เธอจึงหันเหความสนใจไปเรียนวิชาชีพช่างภาพ และที่นครมิวนิกนี่เอง ที่ทําให้เธอกลายเป็นนักปฏิวัติทางการเมืองด้วยอายุแค่ยี่สิบปี หลังจากนั้นไม่นาน เธอก็ไปใช้ชีวิตช่วงสั้นๆ ที่รัสเซีย จากนั้นในยุคทศวรรษ ๑๙๒๐ ได้ใช้ชีวิตที่กรุงเบอร์ลิน อยู่ในแวดวงใกล้ชิดกับ แบร์ทอลด์ เบรคท์ (Berthold Brecht) และ เกออร์ก กรอสซ์ (George Grosz) จนในที่สุด ที่ปารีส ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เธอก็ได้ค้นพบตัวตน และความสามารถที่แท้จริงของเธอ: ด้วยความหลงใหลคลั่งไคล้กับสิ่งที่เธอเรียกว่า "เจ้าดํา” เธอเล่นมุมกล้องแบบบิดเบนแนวเอ็กซเพรสชั่นนิสม์รอบๆ หอไอเฟล 

ถ่ายภาพเก็บรายละเอียดเชิงเทคนิค เล่นกับแสงและพลังอันแท้จริงของโครงสร้าง โลหะที่หนักเป็นต้นๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เธอได้นําภาพถ่ายเหล่านี้มาพิมพ์เผยแพร่ บนกระดาษอัดภาพแบบแผ่นเดี่ยวโดยตั้งชื่ออัลบั้มภาว่า “Métal” (เมทัล) ซึ่งสไตล์ ถ่ายภาพของเธอก็ได้กลายมาเป็นแนวทางใหม่ที่ชี้นําวงการถ่ายภาพ ผลงานนี้ถึงกับ ส่งให้แกร์ไมเนอ ครูลล์ มีชื่อเสียงโด่งดังทันใดในชั่วข้ามคืน 

ครูลล์เดินทางไปทั่วโลกอย่างไม่หยุดนิ่ง ใช้ชีวิตอยู่ที่บราซิล คองโก ลาว และกัมพูชา จนกระทั่งมาถึงกรุงเทพฯในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ด้วยวัยเกือบห้าสิบปี ห้วงเวลาพักร้อนช่วงสั้นๆ ที่เธอวางแผนไว้เพื่อพักผ่อนจากการทํางานในฐานะนักข่าวสงครามกลายเป็นบทชีวิตที่ยาวที่สุดบทหนึ่งของเธอ หลังจากเดินทางมาถึง ประเทศไทยได้ไม่นาน ครูลล์ได้ถ่ายรูปพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๔ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๔) ในขณะที่พระอนุชาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงอยู่ร่วมพิธีและเป็นผู้สืบทอดราชวงศ์ในนามรัชกาลที่ ๙ ที่กรุงเทพฯ เธอกับจิม ทอมป์สัน ชาวอเมริกันผู้มีเสน่ห์ดึงดูด ได้เข้าถือครองโรงแรมโอเรียนเต็ลที่ซึ่ง ในช่วงเวลานั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรมยับเยิน โดยเธอได้เข้าไปบริหารจัดการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๙ ภายใต้การดูแลของนักถ่ายภาพหญิง ผู้นี้กับจิมพ่อค้าผ้าไหม โรงแรมได้ตื่นขึ้นสู่ความเย้ายวนใจอีกครั้ง หนุ่มสาวและ ผู้คนในสังคมพากันมาพบปะสังสรรค์ที่แบมบูบาร์ตัวครลล์เองก็ได้กลายเป็นอีกหนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในยุคนั้นหลังจากยี่สิบปีที่เธอพํานักอยู่ในประเทศไทย เมื่ออายุได้ ๗๐ ปี เธอโบกมือลา กรุงเทพฯและย้ายถิ่นฐานเป็นครั้งสุดท้าย คราวนี้ไปทางภาคเหนือของอินเดียที่เธอได้ เข้าไปช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัยชาวทิเบตในความคุ้มครองขององค์ดาไลลามะ หลังจากที่ ครูลล์มีอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรงสตรีผู้เป็นพลเมืองโลก ช่างภาพหญิงผู้เลื่องลือนาม ก็ได้สิ้นชีวิตลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ในบ้านพักคนชราเมืองเวทซลาร์ รัฐเฮสเซ่น เยอรมนีซึ่งหลุมฝังศพของเธออยู่ที่สุสานเมืองนี้เช่นกัน 

Germaine Krull

photographer and artist

แกร์ไมเนอ ครูลล์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่เมืองโพเซ่น ประเทศเยอรมนี ย้ายไปมิวนิกเพื่อศึกษาต่อวิชาชีพช่างภาพ จากนั้นเดินทางไปพำนักอยู่อีกหลายประเทศ เริ่มจากเมืองหนึ่งในรัสเซีย จากนั้นเป็นกรุงเบอร์ลิน จนในที่สุดที่ปารีส ที่ซึ่งเธอได้สร้างผลงานภาพถ่ายของหอไอเฟลที่แตกต่างแต่ทรงพลัง อันส่งผลให้แกร์ไมเนอ ครูลล์ กลายเป็นช่างภาพที่ชื่อเสียงโด่งดังในชั่วข้ามคืน ต่อมาเธอได้กลายเป็นช่างภาพข่าวเต็มตัว และเป็นนักเดินทางไปทั่วโลกในห้วงเวลาแห่งสงคราม ครูลล์พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๑๐ ก่อนที่จะย้ายถิ่นฐานไปยังอินเดียและเข้าไปช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัยชาวธิเบต แกร์ไมเนอ ครูลล์เสียชีวิตในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ในเยอรมนี ที่ซึ่งหลุมฝังศพของเธอได้อยู่ที่นี่