Jim Thompson Art Center

EN TH
Echoed Tranquility cover
Echoed Tranquility cover title

Exhibitions /

EN TH

Echoed Tranquility

ศิลปิน: ดินห์ คิว เลย์ / ปรัชญา พิณทอง/ โทชิโกะ ทานากะ

มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า และมูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมชมงานเนิทรรศการศิลปะที่มีชื่อว่า “Echoed Tranquility” ณ หอศิลป์จิมบ้านทอมป์สัน กรุงเทพฯ นิทรรศการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า ประเทศญี่ปุ่น และมูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากหอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมา

Echoed Tranquility เป็นนิทรรศการศิลปะที่รวบรวมแก่นแท้ของความเงียบสงบที่ เกิดขึ้นหลังความขัดแย้งไว้อย่างละเมียดละไมและนำพาคุณสำรวจเส้นทางแห่งการเข้าใจซึ่งกันและกันและการฟื้นคืนสภาพจิตใจภายหลังสงครามผ่านงานศิลปะโดยนำเสนอให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างการแตกสลายและ การฟื้นฟูสู่สภาพเดิม

Echoed Tranquility เป็นผลงานที่มีวิธีการนำเสนอแฝงนัยยะซ้อนเร้น โดยอธิบายให้เห็นว่า เมื่อยามบ้านเมืองที่ถูกพังทลายและจิตวิญญาณที่แตกสลายได้สัมผัสกับความรู้สึกปลอบโยนและความสงบสุข เมื่อนั้นบทสนทนาอันลึกซึ้งและ เสียงกระซิบที่เต็มไปด้วยความหวังของผู้คนจึงก่อตัวขึ้น  อันเป็นภาพแทนแห่งความหมายของการมีชีวิตอยู่หลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่แสนละเอียดอ่อน โดยภายในงานได้มีการรวบรวมจัดแสดงผลงานศิลปะอันโด่งดังของคุณ ดินห์ คิว เลย์ (Dinh Q. Lê) ที่มีชื่อว่า ‘South China Sea Pishkun’ (2009)  ผลงานชิ้นใหม่ในซีรีย์ ‘The Organ of Destiny’ ของคุณปรัชญา พิณทอง และคอลเลกชั่นภาพวาดสีน้ำมันอีนาเมลของคุณโทชิโกะ ทานากะ ในฐานะที่เธอเป็นผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูและได้ผันตัวเองมาเป็นศิลปิน

สำหรับกำหนดการกิจกรรมในงานเปิดนิทรรศการในวันที่ 7  ธันวาคม 2566 จะการนำพาท่านเดินชมนิทรรศการ ตามด้วยการบรรยายของคุณโทชิโกะ ทานากะ และคุณปรัชญา พิณทอง ซึ่งจะมาแบ่งปันบอกเล่าประสบการณ์และเรื่องราวของพวกเขาให้ท่านได้ฟัง พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พบกับท่านในงานนิทรรศการครั้งนี้

จัดแสดงนิทรรศการ: ณ อีเวนท์ สเปซ (Event Space) ชั้น 2
สถานที่: หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน เลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เปิดทำการ: ทุกวัน เวลา: 10.00 - 18.00 น.

Pratchaya Phinthong

กำหนดการกิจกรรมในงานเปิดนิทรรศการ
วันที่ 7 ธันวาคม 2566
(เฉพาะผู้ที่ยืนยันการเข้าร่วมงานทาง spfound.org/rsvp เท่านั้น)

กิจกรรมทัวร์นิทรรศการ
เวลา: 16:30 . อีเวนท์ สเปซ (Event Space)

ร่วมสนทนาและแบ่งปันประสบการณ์
เวลา: 17:00 . ห้อง Pop-up Room
โทชิโกะ ทานากะ, ศิลปิน และผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมา
ปรัชญา พิณทอง, ศิลปิน The Organ of Destiny

พิธีเปิดนิทรรศการ
เวลา: 18:00 . อีเวนท์ สเปซ (Event Space)

ประธานเปิดนิทรรศการ: ฯพณฯ สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว, ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ มากิ คาวามูระ, ผู้อำนวยการ สำนักข่าวสารญี่ปุ่น แห่งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น อิทซุ อาดาชิ, กรรมการบริหาร มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า ดร.ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ, ประธาน มูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ

Toshiko Tanaka

มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า (SPF)

มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า (SPF) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 และได้ดำเนินงานเพื่อพัฒนาความก้าวหน้า ในการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศนับตั้งแต่นั้นมา ด้วยความเป็นมูลนิธิเอกชนที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด จึงทำให้พวกเรามีอิสระทั้งทางความคิดและวิธีการทำงาน ส่งผลให้มูลนิธิของเราสามารถสำรวจแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่มากมายในโลกปัจจุบัน ร่วมกับผู้คนที่หลากหลายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ

มูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นองค์กรการกุศลที่มีเป้าหมายในการสานต่อมรดกของคุณสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐบุรุษแห่งภูมิภาค ผู้เป็นอดีตเลขาธิการอาเซียน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน พวกเรามีความต้องการที่จะส่งเสริมให้พลเมืองอาเซียนสามารถก้าวข้ามความแตกต่างของกันและกันได้ รวมถึงรับมือกับความท้าทายในระดับภูมิภาค และทำงานเพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองภายในภูมิภาคในฐานะประชาคมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน