Jim Thompson Art Center

EN TH
The Making of Golden Teardrop cover
The Making of Golden Teardrop cover title

Exhibitions / Jim Thompson Art Center

EN TH

The Making of Golden Teardrop

ศิลปิน อริญชย์ รุ่งแจ้ง

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ภูมิใจเสนอ นิทรรศการ The Making of Golden Teardrop (ทองหยอด) เป็นผลงานชิ้นสำคัญของ อริญชย์ รุ่งแจ้ง ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ที่ตีความประวัติศาสตร์แบบใหม่ โดยการใช้ขนมทองหยอดเป็นจุดเริ่มต้น

นิทรรศการประกอบไปด้วยผลงานประติมากรรมทองเหลืองรูปทรงทองหยอดขนาดเล็กกว่า 5,000 ชิ้น และงานสารคดีความยาว 30นาที รวมทั้งภาพถ่ายและเอกสารที่ศิลปินค้นคว้าและวิจัยในระหว่างการทำงานชิ้นนี้ เมื่อศิลปิน นำ“ขนมทองหยอด” เป็นแกนกลางในการสร้างผลงาน Golden Teardrop เพื่อนำเสนอการตีความทางประวัติศาสตร์แบบใหม่ ที่ท้าทายและตั้งคำถามต่อการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ฉบับทางการ ด้วยการนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากบันทึกและเรื่องเล่าในอดีต ที่บ่งบอกถึงความเชื่อมโยงของพื้นถิ่นกับนานาชาติผ่านการเดินทางของอาหาร เพื่อสะกิดให้ผู้ชมหลุดจากกรอบที่ครอบงำความคิดและความเชื่อเดิม

นับเป็นการรวบรวมและประกอบเข้าด้วยกันอีกครั้งจากเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่กระจัดกระจายไหลเวียนผ่านบทสนทนา ทั้งในระดับส่วนตัวและสาธารณะ ซึ่งจะช่วยเผยให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ และพยายามรื้อถอนขุดค้นลงไปใต้ภาพประวัติศาสตร์ที่ผ่านการจารึกเรื่องเล่าไว้จนแน่นหนา อันมีจุดเริ่มต้นมาจากการทับซ้อนของเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ของการค้าน้ำตาลผสมกับเรื่องเล่าจากปัจเจกบุคคลทั้งไทย, กรีก, โปรตุเกส และญี่ปุ่นระหว่างยุคล่าอาณานิคม ช่วงศตรวรรษที่15-17 และยุคสมัยใหม่ในศตวรรษที่20-21 ที่เกี่ยวข้องกับขนมทองหยอด จากจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสำรวจการสะสมเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำของพวกเขา

ผลงาน Golden Teardrop จัดแสดงครั้งแรกที่ศาลาไทย (Thai Pavilion) ในเทศกาลมหกรรมศิลปะเวนิสเบียนนาเล่ ครั้งที่55 ปีพ.ศ.2556 โดยการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ก่อนที่จะนำไปจัดแสดงในอีกหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย สำหรับนิทรรศการ The Making of Golden Teardrop ที่จะนำมาจัดแสดงที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ในครั้งนี้ ยังเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นส่วนเริ่มต้นหรือที่มาของนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็น งานวิดีโอ ภาพถ่าย และข้อมูลต่างๆ ที่ทีมงานใช้ในการสืบค้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงขั้นตอนในเชิงถอดรื้อโครงสร้างและการทบทวนประวัติศาสตร์ชาติผ่านขนมทองหยอด ซึ่งไม่ใช่การเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ แต่เป็นการนำภาพที่กระจัดกระจาย และนำตัวละครจริงในประวัติศาสตร์มาเชื่อมต่อเพื่อนำเสนอ

ศิลปินพูดถึงงานชิ้นนี้ว่า “งานสารคดีของผมคือการนำเสนอภาพของความไม่สมประกอบของประวัติศาสตร์ในจุดไหนก็แล้วแต่ มันไม่ใช่เป็นการพยายามเชื่อมข้อมูลทั้งหมด มันประดักประเดิดแล้วก็ไม่มีผลอะไรนอกจากความสามารถในการตีความ แล้วใช้ภาพยนตร์โปรเจกต์ออกมา เหมือนเอาประวัติศาสตร์มากองไว้บนโต๊ะ มันขึ้นอยู่กับคนเลือกที่จะเลือกเก็บ หรือปะติดปะต่ออะไรก็ตามที่มันอยู่บนโต๊ะ สำหรับผมไม่ใช่เรื่องของการปรุงประวัติศาสตร์ขึ้นมา”

  • 1

อริญชย์ รุ่งแจ้ง

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2518 กรุงเทพฯ

ศิลปิน

อริญชย์ รุ่งแจ้ง อาศัยและทำงานที่กรุงเทพฯ เป็นที่รู้จักจากผลงานที่
แสดงให้เห็นการกลับไปสืบค้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และการซ้อนทับของเรื่องราวสำคัญต่างๆที่เกิดชิ้นกับ
เรื่องราวเล็กๆน้อยๆ ผ่านพื้นที่ เวลา และภาษาที่หลากหลาย อริญชย์สนใจเรื่องราวและมุมมองในประวัติศาสตร์
ไทยที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก รวมถึงจุดเชื่อมโยงของเรื่องราวเหล่านั้นกับสถานที่เกิดเหตุการณ์และบริบทของกระบวนการทำงานของเขาในยุคสมัยปัจจุบัน การนำเสนอวัตถุหรือสิ่งซึ่งสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆที่ ห่างไกลกันข้ามผ่านเวลาและพื้นที่ เป็นเหมือนแกนหลักในการทำงานและสืบค้นเรื่องราวต่างๆของเขา อริญชย์
ทำงานกับสื่อที่หลากหลาย โดยเฉพาะวิดีโอ(video) และงานจัดวางเชิงพื้นที่ (site-specific installation) ในการ
สำรวจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และประสบการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน อริญชย์พินิจพิเคราะห์รายละเอียด
เหล่านั้น และย้อนกลับไปมองเรื่องราวต่างๆที่มีความสำคัญ ผ่านภาพเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆที่เกิดชิ้น

อริญชย์ รุ่งแจ้ง เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่
ครั้งที่ 55 เมื่อปี พ.ศ.2556 โดยนำเสนอ Golden Teardrop ผลงานที่มุ่งสำรวจการปรับเปลี่ยนของ ‘ทองหยอด’ 
ขนมไทยที่ได้รับการยกย่องผ่านการเดินทางข้ามชาติ ซึ่งเผยให้เราเห็นเรื่องราวที่สร้างความประหลาดใจ และ
เหตุการณ์ที่เกิดชิ้นพร้อมๆกัน ที่ดูจะขัดแย้งกับประวัติศาสตร์หน้าหลักที่เกิดชิ้น นิทรรศการที่ผ่านมาของอริญชย์ รุ่ง
แจ้งประกอบด้วย Mongkut จัดแสดงที CAPC - Musee d'art contemporain สำหรับโครงการ The Satellite
 programme 8 เมื่องบอร์โด (ปี พ.ศ.2558) และที่ Jeu de Paume เมืองปารีส (ปี พ.ศ.2558) อริญชย์ผ่านเข้ารอบ
ชิงชนะเลิศเพือขิงรางวัลจาก APB Foundation Signature Art Prize (ปี พ.ศ.2557) Golden Teardrop จัดแสดง
ที่นิทรรศการศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเด่ ครั้งที่ 55 (ปี พ.ศ.2556) นอกจากนั้นอริญชย์ยังเข้าร่วมนิทรรศการ ศิลปะนานาชาติ ซิดนีย์ เบียนนาเด่ ครั้งที่ 18 (ปี พ.ศ.2555) The Bandung ‘City Pavilion’ นิทรรศการศิลปะ
นานาชาติ เซี่ยงไฮ้ เบียนนาเล่ (ปี พ.ศ.2555) และนิทรรศการศิลปะนานาชาติ สิงคโปร์ เบียนนาเด่ ที่สนามบินกัลลังเก่า (ปี พ.ศ.2554)