Jim Thompson Art Center

EN TH
Future Tense cover
Future Tense cover title

Exhibitions /

EN TH

Future Tense

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยฉลองเปิดตัวอาคารใหม่ของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน FUTURE TENSE เป็นนิทรรศการปฐมทัศน์ท่ีมาพร้อมกับการเฉลิมฉลองการเปิดอาคารใหม่ของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑ ศิลปินท้ัง ๑๔ ท่าน นําเสนอผลงานที่มาจากการ สร้างสรรค์ผลงานที่เกิดและพัฒนาข้ึนจากบริบทที่เกี่ยวข้องกับสงครามเย็น และผลตกค้างที่ยังดําเนินอยู่ในโลก ร่วมสมัย เป็นเสียงสะท้อนจากมุมมองของศิลปินที่ไตร่ตรองมาจากความเช่ือและดุลยพินิจที่เกิดขึ้นระหว่าง กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติการทางศิลปะของพวกเขา

ศิลปินที่ร่วมแสดงงาน
เช วันจุน (ประเทศเกาหลีใต้),
ชู ห่าว เป่ย (ประเทศสิงคโปร์),
คริสเตียน ทาเบลซอน (ประเทศฟิลิปปินส์),
เอลมาดิน ซูนิก (ประเทศบอสเนีย/นอร์เวย์),
ฟรานซิสโก คามาโช เอร์เรเร่า (ประเทศโคลัมเบีย/เนเธอร์แลนด์),
ฮีมาน ชอง (ประเทศสิงคโปร์),
ฮุย เย่ (ประเทศจีน/ออสเตรีย),
ฮวน มิคาเอล เอสคาลันเต (ประเทศสหรัฐอเมริกา),
ณัฐพล ชัยวรวัฒน์ (ประเทศไทย),
ปริณต คุณากรวงศ์ (ประเทศไทย),
เชค (ประเทศไต้หวัน),
ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ (ประเทศไทย),
วัชรนนท์ สินวรวัฒน์ (ประเทศไทย),
และ โวล์ฟกัง เบลล์วิงเคิล (ประเทศเยอรมนี)

มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการ ได้แก่
อริญชย์ รุ่งแจ้ง (ประเทศไทย),
เกรซ แซมโบฮ (ประเทศอินโดนีเซีย),
ลีโน วุธ (ประเทศกัมพูชา)
และ เคทลีน ดิทซิก (ประเทศสิงคโปร์)

ในความดูแลของ
กฤติยา กาวีวงศ์ (ประเทศไทย)
และเดวิด เทห์(สิงคโปร์/ประเทศออสเตรเลีย)

กล่าวได้ว่าสงครามเย็นเป็นช่วงเวลาสําคัญในประวัติศาสตร์โลก ในช่วงเวลาสําคัญนี้เองที่นายทหารอเมริกัน เจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน ได้มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศไทย หลังจากปลดประจําการจากกองทัพเมื่อครั้งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ ๒ และต่อมาได้ตั้งรกรากที่กรุงเทพฯ ซึ่งเขาได้ก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จํากัด ที่มี ชื่อเสียงไปไกลระดับโลก และสร้างกลุ่มบ้านเรือนไทยแบบดั้งเดิม ณ ใจกลางเมือง เพื่อจัดแสดงผลงานศิลปะที่โดด เด่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากการหายตัวไปของคุณจิม ทอมป์สัน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ บ้านของเขาได้ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์บ้านไทย ซึ่งบริหารงานโดยมูลนิธิ เจมส์ เอช. ดับเบิลยู ทอมป์สัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

เพื่อทําหน้าที่เป็นศูนย์กลาง เกี่ยวกับสิ่งทอและศิลปะ โดยเราจัดนิทรรศการศิลปะหมุนเวียนทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย ตลอดจนโปรแกรม สําหรับสาธารณชนและการสัมมนาที่ขับเน้นเกี่ยวกับศิลปินในท้องถิ่น ทั้งระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

นิทรรศการหลากหลายแง่มุมนี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นทางสังคมและการเมืองที่กําลังดําเนินอยู่ ดังที่เห็นได้จากผลงาน ของศิลปินทั้ง 14 ท่าน ซึ่งทุกคนมีต้นกําเนิดและภูมิหลังที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และได้รับผลกระทบจากเศษ ซากของผลที่ตามมาจากสงครามเย็นที่แผ่ขยายไปทั่วโลก

  • 1

    Parinot Kunakornwong,
    10th April, 2021,
    Mixed media installation,
    Variable dimension,
    Collection of the artist

  • Wolfgang Bellwinkel,
July 23th, 2019
Print on Epson Hot Press,
130cm x 180cm
Collection of the artist

    Wolfgang Bellwinkel,
    July 23th, 2019
    Print on Epson Hot Press,
    130cm x 180cm
    Collection of the artist

  • Che Onejoon,
Tiglachin Monument, built in 1977,
Addis Ababa, Ethiopia, 2015,
Digital C-print, 60 x 86 cm

    Che Onejoon,
    Tiglachin Monument, built in 1977,
    Addis Ababa, Ethiopia, 2015,
    Digital C-print, 60 x 86 cm

  • Heman Chong,
I WANT TO BELIEVE, 2016, 
Print on papers,
variable dimension, 
Collection of the artist

    Heman Chong,
    I WANT TO BELIEVE, 2016,
    Print on papers,
    variable dimension,
    Collection of the artist

  • Vacharanont Sinvaravatn,
Countryside in the Afternoon, 2021
Oil on canvas, 
80cm x 130cm
Collection of the artist

    Vacharanont Sinvaravatn,
    Countryside in the Afternoon, 2021
    Oil on canvas,
    80cm x 130cm
    Collection of the artist

  • Supapong Laodheerasiri, 
Humanity, 2019,
Publication, offset print on papers,
59.4 x 42 cm,
Collection of the artist

    Supapong Laodheerasiri,
    Humanity, 2019,
    Publication, offset print on papers,
    59.4 x 42 cm,
    Collection of the artist

FUTURE TENSE นับเป็นการก้าวไปสู่อนาคตท่ีไม่แน่นอน โดยมีจุดหมายปลายทางที่เราไม่ได้สามารถไปถึงได้ หากไม่ย้อนไปทบทวนถึงอดีต ครุ่นคิดถึงปัจจุบัน และจินตนาการถึงอนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้ นิทรรศการนี้ รวบรวมผลงานศิลปะท่ีหลากหลายภายใต้บริบทของสงครามเย็นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และท่ีอื่น ๆ รวมถึง ประเด็นสําคัญเกี่ยวกับความเป็นจริงในท้องถ่ินและระดับโลกท่ีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหยุดชะงัก ศิลปินตอก ย้ําผลกระทบท่ีมีต่อความไม่มั่นคงทางสังคมและการเมืองในปัจจุบันจากประเด็นปัญหาต่างๆ เช่น ภูมิรัฐศาสตร์ เศษซากของสิ่งอํานวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางทหารในยุคสงครามเย็น และตั้งคําถามกับกระบวนการสร้าง ภาพ บ่อยครั้งท่ีพวกเขาใช้การเล่าเรื่องเพื่อสร้างกลุ่มภาพแห่งประสบการณ์ของพวกเขาเอง การเล่าเรื่องแบบ จุลภาค และประวัติศาสตร์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทางสังคมและการเมือง เพ่ือต้ังคําถาม วิจารณ์ และสะท้อนถึง ระบอบที่ผ่านมา ศิลปินบางคนสนใจที่จะเปิดเผยวัตถุและภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของทั้งพื้นที่ชนบทและในเมืองเพื่อ ติดตามการกําเนิดของความทันสมัยท่ีล้มเหลว และปัญหาเรื่องโครงสร้างทางสังคมจากบริบทของตนเอง ผลงาน ของพวกเขาแสดงให้เห็นถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์และความอยากรู้อยากเห็นของศิลปินข้ามรุ่นในยุคนี้

FUTURE TENSE เป็นหน่ึงในนิทรรศการชุดเก่ียวกับสงครามเย็นที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันปรารถนาที่จะมีส่วน ร่วมกับชุมชนศิลปะและสังคมที่หลากหลายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก เราหวังว่าเมื่อได้ริเริ่มบทสนทนาเรื่องนี้ แล้ว เราจะสามารถค้นพบความเป็นไปได้อื่นๆ

นิทรรศการ FUTURE TENSE เกิดข้ึนได้ด้วยการสนับสนุนจาก มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน, กองทุน มองเดรียน ประเทศเนเธอร์แลนด์, ดีซี คอลเลกชั่น, บริษัท โซนี่ไทย จํากัด, สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ, บริษัท ไทยซัม ซุงอิเลคโทรนิคส์ จํากัด และซูปเปอร์นอร์มอล สตูดิโอ

A Trail at the End of the World
โดย ดุษฎี ฮันตระกูล

โครงการศิลปะเฉพาะที่ ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน ร่วมกับบางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ เชิญดุษฎี ฮันตระกูล ศิลปินชาวกรุงเทพฯ มา ทํางานศิลปะที่เชื่อมโยงกับคอลเลกชั่นงานเซรามิกของพิพิธภัณฑ์ เพ่ือสํารวจและตอบคําถามระดับโลกที่ว่าเราจะอยู่ ร่วมกับ New Normal ในโลกยุคหลังการระบาดท่ีรายล้อมไปด้วยเศษเส้ียวจากอดีตโลกทุนนิยมได้อย่างไร ดุษฎีได้ กลับมาสร้างงานจากดินเหนียวอีกครั้งในนิทรรศการศิลปะ ซึ่งมีชื่อว่า A Trail at the End of the World

จากแรงบันดาลใจในคอลเลกช่ันเซรามิกสะสมของจิม ทอมป์สัน และจากสวนของพิพิธภัณฑ์ฯ รวมถึงการหายตัวไป อย่างลึกลับของจิม ทอมป์สัน ขณะไปเดินป่าที่มาเลเซียในปี 2510 ดุษฎีจินตนาการถึงจิม ทอมป์สัน ขณะกําลัง ท่องไปในเส้นทางที่เขาเรียกว่า “the trail at the end of the world” (เส้นทางสู่สุดขอบโลก) แรงบันดาลใจใน การทํางานชุดน้ีของเขายังมาจากหนังสือ “The Mushroom at the End of the World; on the Possibility of Life in Capitalist Ruins” โดยแอนนา โลเว่นฮาวป์ ซิง (Anna Lowenhaupt Tsing) ซึ่งพูดถึงหน้าท่ีและ ความสัมพันธ์ของเห็ดหายากชนิดหนึ่งท่ีช่วยค้ำจุนสรรพชีวิตในโลกอันเปราะบางนี้ คําถามที่ศิลปินตั้งข้ึนนี้ ยังพ้อง กันกับความเป็นจริงในช่วงเวลาของเรา เมื่อการระบาดของโควิด-19 ได้พลิกควํ่าโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือ บังคับเราให้เราต้องหยุดนิ่งและคิดใคร่ครวญแม้กระทั่งในเวลาที่เราต้องต่อสู้กับการระบาดร้ายแรงนี้ ผลงานที่จัด แสดง คืองานประติมากรรมเซรามิค สะท้อนให้เห็นถึงความห่วงใยของศิลปินต่อระบบนิเวศน์วิทยา และ ความ หลากหลายทางชีวภาพ ดุษฎีได้จัดวางผลงานตามจุดต่างๆในสวนร่มรื่นแบบทรอปิคอลของพิพิธภัณฑ์ บ้านจิม ทอมป์สัน

โครงการศิลปะนี้เป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน และบางกอก ซิตี้ ซิตี้ แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ ร่วมด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน

  • 1

Spinning Wheels
โดย กวิตา วัฒนะชยังกูร
ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน ร่วมกับ Nova Contemporary จัดนิทรรศการ Spinning Wheels ซึ่งเป็น นิทรรศการเดี่ยวของ กวิตา วัฒนะชยังกูร นิทรรศการนี้ได้รวบรวมผลงานของกวิตาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ส่ิงทอ ณ บริเวณชั้นสองของพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

นิทรรศการ Spinning Wheels กล่าวถึงภาระงานของแรงงานในอุตสาหกรรมส่ิงทอ ในการทํางานของกวิตา เธอ จะแปลงร่างกายตนเองให้กลายเป็นลูกผสมระหว่างเครื่องจักรและสิ่งมีชีวิต อย่างเช่น ไซบอร์ก พร้อมไปกับจัดวาง ตนเองผ่านตําแหน่งท่ียากลําบากในการเคลื่อนไหวซํ้าไปซ้ำมา การกระทําเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านรูปแบบกึ่งเปลือยของเธอกับฉากหลังที่มีสีสันตัดกันฉูดฉาด การเคลื่อนไหวซํ้าไป-มานั้นได้สื่อถึงอาณาบริเวณของการผลิตและการผลิต ซํ้าในโลกวัตถุนิยม กล่าวคือ บริโภคนิยมนั่นเอง ผ่านงานของเธอ ร่างกายกลายเป็นพื้นที่แห่งความตึงเครียด สําหรับการต่อสู้เพื่อดํารงอยู่ของมนุษย์ กับการต่อต้านการกลายเป็นฟันเฟืองธรรมดาช้ินหนึ่งในเครื่องจักร การ เคลื่อนไหวซํ้าไป-มาทําให้เธอหยั่งถึงและเข้าใจความทุกข์ยากของแรงงานที่ตรากตรําทํางานอย่างไม่ย่อท้อ

นอกจากนี้ยังบ่งชี้ว่าคู่ความสัมพันธ์ทวิลักษณ์ แบบสาธารณะกับส่วนตัว ความเจ็บปวดกับความสุข ระบบกลไกกับ การตื่นรู้ด้วยตนเอง การต่อต้านกับการยอมรับ สามารถประจักษ์ได้ผ่านเรือนร่าง การแสดงแกว่งกวัดระหว่าง มนุษย์และเครอื่ งจักรชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของมนุษย์ พื้นที่จําเพาะและ ประวัติศาสตร์พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน ช่วยให้สามารถสํารวจบริบทของเรื่องราวต่างๆ ที่แพร่หลายใน การทํางานของเธอตั้งแต่วัตถุนิยม แรงงาน สตรีนิยม มนุษย์ และเครื่องจักร

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน และ Nova Contemporary โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ศิลปินขอขอบคุณ 100 Tonson Foundation ละบ้านศรีย่าน

ดุษฎี ฮันตระกูล

ศิลปิน

ดุษฎี ฮันตระกูล เกิดที่กรุงเทพฯ ในปี 2521 เขาจบการศึกษาระดับศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่ง แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในปี 2556 งานของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานประติมากรรม ภาพลายเส้น และงานเซรามิก อยู่ บนจุดตัดระหว่างทัศนศิลป์ โบราณคดี นิเวศวิทยา และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ นิทรรศการเดี่ยวของเขายังรวมถึง นิทรรศการ They Talk บางกอก ซิต้ีซิต้ี แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ (2562) There are Monsoon Songs everywhere แกลเลอรี่ 100 ต้นสน กรุงเทพฯ (2561) และ To Dance is to be Everywhere แกลเลอรี่ Chan + Hori สิงคโปร์ (2560) เขายังร่วมแสดงงานในนิทรรศการและเทศกาลศิลปะระดับนานาชาติ เช่น เทศกาล ศิลปะสิงคโปร์ อาร์ต เบียนนาเล่ 2562 Every step is the right direction ที่กิลแมน บาร์แร็กส์ สิงคโปร์ (2562) เทศกาลศิลปะไทยแลนด์ เบียนนาเล่ กระบี่ (2561) นิทรรศการ Sunshower: Contemporary Art from Southeast Asia 1980s to Now พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ โตเกียว (2560) และนิทรรศการ Beneath the Moon พาเลย์ เดอ โตเกียว ปารีส (2557) ปัจจุบันดุษฎีอาศัยและทํางานอท่ีกรุงเทพฯ

กวิตา วัฒนะชยังกูร

ศิลปิน

กวิตา วัฒนะชยังกูร เกิดท่ีกรุงเทพฯ ในปี 2530 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย RMIT ในปี 2554 กวิตาเป็นท่ีรู้จักจากผลงานวิดีโอและงานเพอฟอร์ม เธอเชื่อว่าศิลปะทําหน้าท่ีเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ถูก ทอดทิ้งและชนกลุ่มน้อย ในปี 2558 เธอเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายในรางวัล “Jaguar Asia Pacific Tech Art Prize” และผลงานของเธอได้รวมอยู่ใน นิทรรศการกลุ่ม “Thailand Eye” ที่ Saatchi Gallery ในลอนดอน ในปี 2560 ผลงานของเธอได้เป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการ "Islands in the Stream" ณ เมืองเวนิส และงาน “Asia Triennial of Performing Arts” ที่ศูนย์ศิลปะเมลเบิร์น อีกทั้งที่งาน "Negotiating the Future" ที่ “Asia Art Biennial Taiwan” ต่อมาในปี 2561 เธอได้เข้าร่วมงาน “Bangkok Art Biennale” ถัดมาในปี 2562 เธอมีงานแสดงเดี่ยว ครั้งแรกท่ี “Albright Knox Art Gallery” ในนิวยอร์ก และในปี 2564 ผลงานของกวิตาได้รวมอยู่ในชุด นิทรรศการ “Collecting Entanglement and Embodied History, ERRATA” ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วม สมัยใหม่เอ่ียม (เชียงใหม่ ประเทศไทย) และ “Nation - Narration - Narcosis” ท่ี Hamburger Bahnhof - Museum (เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี) ผลงานของเธอได้รับการจัดแสดงที่ Singapore Art Museum, Dunedin Art Museum พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอ่ียม และพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย MOCA (กรุงเทพฯ) ปัจจุบันเธอ อาศัยและทํางานในกรุงเทพฯ

พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันและสวนหย่อม

พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน สร้างโดยจิม ทอมป์สัน ผู้ประกอบการชาวอเมริกันซึ่งเดินทางมาไทยในปี 2488 ใน ฐานะเจ้าหน้าที่ทหารของสํานักบริการด้านยุทธศาสตร์ (Office of the Strategic Services - OSS) หรือต่อมา คือสํานักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency - CIA) ต่อมาเขาก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทยขึ้น และทํางานอย่างใกล้ชิดกับช่างทอชาวจามมุสลิมจากชุมชนบ้านครัวริมคลองแสนแสบเพื่อสร้างอุตสาหกรรมใน ครัวเรือน เช่นน้ีเอง เขาตัดสินใจสร้างเรือนไทยไม้สักริมคลอง ณ อีกฝากฝ่ังของคลองแสนแสบ ซึ่งเรือนไทยหลังน้ี เป็นเหมือนการตีความเรือนไทยประเพณีในแบบสมัยใหม่ เขายังสะสมงานศิลปะไทยและงานศิลปะเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ยุคก่อนสมัยใหม่และวัตถุโบราณลํ้าค่าต่างๆ มากมาย